ความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของสารสกัดด้วยเอทานอลจากรากย่านางในหนูขาวเพศผู้

Main Article Content

ธีรพร กทิศาสตร์
สุรพงศ์ รัตนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของสารสกัดรากย่านาง ที่สกัดด้วยเอทานอล 95% ในหนูขาวสายพันธุ์ Wistar เพศผู้ สําหรับการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ทําการป้อนสารสกัดทางปากครั้งเดียวในขนาด 2,000 มก./กก. จากนั้นสังเกตอาการความเป็นพิษ ชั่งน้ำหนักตัว และนับจํานวนหนูตายภายใน 24 ชั่วโมง และสังเกตอาการต่อเนื่องอีก 14 วัน สําหรับการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน ทําการป้อนสารสกัดทางปากในขนาด มก./กก. ทุกวันเป็นเวลา 14 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทําการเจาะเลือดจากหัวใจ เพื่อตรวจวัดค่าทางชีวเคมีของเลือดที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของตับ ได้แก่ เอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) alanine aminotransferase (ALT) และ alkaline phosphatase (ALP) และของไต ได้แก่ blood urea nitrogen (BUN) ครีเอตินิน โปรตีนรวม และอัลบูมิน รวมทั้งเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อตับและไต เพื่อศึกษาลักษณะทางพยาธิวิทยาโดยการย้อมด้วยสีฮีมาทอกซิลิน และอีโอซิน (HE) ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดไม่ทําให้หนูทดลองตายและไม่แสดงอาการความเป็นพิษในหนูทดลองภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าหนูทุกตัวมีน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกัน เมื่อตรวจค่าเคมีโลหิต น้ำหนักตัวและน้ำหนักสัมพัทธ์ของอวัยวะ พบว่าน้ำหนักตัวและน้ำหนักสัมพัทธ์ของอวัยวะไม่แตกต่างกัน ส่วนค่าทางชีวเคมีที่บ่งบอกการทํางานของตับ เช่น AST ALT และ ALP ในหนูที่ได้รับสารสกัดจากรากย่านางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าเกิดการอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อตับ จากการสังเกตลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดรากย่านาง 2,000 มก./กก. มีภาวะไขมันพอกตับ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดรากย่านางสามารถนํามาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ในขนาดที่น้อยกว่า 2,000 มก./กก. และไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับได้

Article Details

How to Cite
กทิศาสตร์ ธ. ., & รัตนะ ส. . (2018). ความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของสารสกัดด้วยเอทานอลจากรากย่านางในหนูขาวเพศผู้. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(2), 212–218. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249838
บท
บทความวิจัย