ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอ จากการเพาะเลี้ยงคัพภะในส้มหอม

Main Article Content

กสานติ์ หาญชนะ
ปิยะพร แสนสุข

บทคัดย่อ

ศึกษาอิทธิพลของสูตรอาหาร ชนิดของอาหาร ฮอร์โมน 2,4-Dichlorophenoxy acetic acid (2,4-D) มอลต์สกัดและขนาดของผลต่อการเพาะเลี้ยงคัพภะของส้มหอม (Citrus japonica Thunb.) เพื่อชักนําให้เกิดแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอ โดยนําคัพภะจากผลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.4-1.4 ซม. และ 1.5-2.5 ซม. มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งและอาหารเหลวสูตร Murashige and Skoog (MS) (1962) และ Murashige and Tucker (MT) (1969) ที่ไม่เติมและเติมมอลต์สกัด 500 มก./ล. ร่วมกับ 2,4-D ที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 4.0 และ 8.0 มก./ล. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าคัพภะจากผลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.4-1.4 ซม. ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MT และเติมมอลต์สกัด 500 มก./ล. ร่วมกับ 2,4-D 1.5 และ 2.0 มก./ล. สามารถชักนําให้เกิดแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอได้ดีที่สุด 100%

Article Details

How to Cite
หาญชนะ ก. ., & แสนสุข ป. . (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอ จากการเพาะเลี้ยงคัพภะในส้มหอม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(1), 131–141. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249819
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยะพร แสนสุข, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150

หน่วยวิจัยอนุกรมวิธานพืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและการประยุกต์ใช้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 44150