ความสัมพันธ์ของเพศ ขนาด และแหล่งอาศัยของปูนา (Esanthelphusa sp.) ต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ปอดระยะเมตาเซอคาเรีย จากทุ่งนาในหมู่บ้านแขมเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ของเพศ ขนาด และแหล่งอาศัยต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ปอดในปูนา Esanthelphusa sp. ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพศ ขนาด และระดับน้ำของแหล่งอาศัยที่ส่งผลต่อการติดเมตาเซอคาเรียในตัวอย่างปูนาที่ได้จากทุ่งนาข้าวหมู่บ้านแขมเจริญ อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ผลการศึกษาพบเมตาเซอคาเรียของ Paragonimus sp. พบปูนาที่ติดเชื้อจํานวน 116 ตัว จากทั้งหมด 270 ตัว มีความชุกร้อยละ 42.96 ค่า intensity เท่ากับ 11.53 การติดเชื้อในปูนาเพศผู้สูงกว่าเพศเมียโดยมีความชุกร้อยละ 45.26 และ 40.60 และค่า intensity เท่ากับ 9.92 และ 13.37 ตามลําดับ พบความแตกต่างการติดเชื้อในปูนาที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยปูนาที่มีขนาด 2.00-3.00, 3.01-4.00 และ 4.01-6.00 เซนติเมตร มีความชุกร้อยละ 58.82, 42.86 และ 33.61 และมีค่า intensity เท่ากับ 4.70, 10.58 และ 14.80 ตามลําดับ พบความแตกต่างการติดเชื้อในปูนาที่มีแหล่งอาศัยแตกต่างกัน โดยตัวอย่างปูนาที่ได้จากแหล่งอาศัยที่มีน้ำที่ผิวดิน แหล่งอาศัยที่ไม่มีน้ำผิวดินแต่มีน้ำใต้ดิน และแหล่งอาศัยที่ไม่มีน้ำทั้งผิวดินและใต้ดินมีความชุก ร้อยละ 34.44, 45.56 และ 48.89 ค่า intensity เท่ากับ 21.10, 13.02 และ 3.39 ตามลําดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของการพบเมตาเซอคาเรียในปูนาที่มีเพศ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกันจากการทดสอบด้วยสถิติ Chi-square ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนําไปประยุกต์เพื่อออกแบบการทดลองในการทดสอบหาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการติดเชื้อปรสิตในโฮสต์กึ่งกลางตัวที่สองของพยาธิใบไม้ปอดต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.