ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำ ในอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง บริเวณลุ่มน้ำเลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์กับคุณสมบัติบางประการของน้ำในอ่างเก็บน้ำ 6 แห้ง เก็บตัวอย่าง 4 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ผลการศึกษา พบแพลงก์ตอนพืช 3 ดิวชิัน 8 ชั้นรวมทั้งสิ้น 77 สกุล 120 ชนิดกลุ่มที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด คือดิวิชันคลอโรไฟตา พบ 77 ชนิดรองลงมา คือ ดิวิชันโครโมไฟตา พบ 27 ชนิดและดิวิชันไซยาโนไฟตาพบ 16 ชนิดค่าดัชนีความหลากหลาย ความสม่ําเสมอ และความมากชนิด พบค่าอยู่ในช่วง 3.584-3.0876, 0.7556-0.8656 และ 6.9835-10.2630 ตามลําดับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความโปร่งแสงมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ ปริมาณสารแขวนลอย ความเป็นกรด-เบส ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน และปริมาณออร์โธฟอสเฟต มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมปัจจัยที่พยากรณ์ ปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติคือ ความโปร่งแสงของน้ำ และความเป็นกรด-เบส ซึ่งพยากรณ์ปริมาณแพลงก์ตอนพืชรวมได้ร้อยละ 68.80 (R2 = .688)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.