การผลิตสบู่คาเฟอีนเพื่อเพิ่มมูลค่ากากกาแฟเหลือทิ้ง

Main Article Content

สุพัตรา รักษาพรต
สุนิษา สุวรรณเจริญ
เรืองวิทย์ สว่างแก้ว
เกศสุดา สามารถ
จิตรลดา บุญเฒ่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาหาปริมาณคาเฟอีนซึ่งเป็นสารองค์ประกอบที่เหลืออยู่ในกากกาแฟเหลือทิ้ง เพื่อนํากากกาแฟไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้กระบวนการอย่างง่าย โดยสกัดหาปริมาณคาเฟอีนในกากกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และกากกาแฟพันธุ์โรบัสต้าจากร้านกาแฟสด ในอําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ด้วยวธิกีารสกัดแบบซอกห์เลต โดยใช้ตัวทําละลาย 4 ชนิด ได้แก่ น้ำ เอทานอล เอทิลแอซีเทต และไดคลอโรมีเทน เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ที่จุดเดือดของตัวทําละลายแต่ละชนิด จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง พบว่า ตัวทําละลายที่สามารถสกัดคาเฟอีนจากกากกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และกากกาแฟพันธุ์โรบัสต้าได้ดีที่สุดคือ ไดคลอโรมีเทน รองลงมาคือ เอทิลแอซีเทต เอทานอล และน้ำ ตามลําดับ เมื่อใช้ไดคลอโรมีเทนเป็นตัวทําละลายสามารถสกัดคาเฟอีนได้จากกากกาแฟพันธุ์อาราบิก้าและกากกาแฟพันธุ์โรบัสต้า คิดเป็นร้อยละผลผลิตเท่ากับ 0.27 และ 0.21 โดยน้ำหนักตามลําดับ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนที่เหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการสกัดออกมาใช้ประโยชน์ คณะผู้วิจัยจึงนํากากกาแฟมาผลิตสบู่ก้อนกากกาแฟ หลังเก็บสบู่ก้อนกากกาแฟไว้เป็นเวลา 15 วัน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณฟองสบู่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับสบู่ก้อนควบคุม งานวิจัยนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับกากกาแฟแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกําจัดของเสียได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

Article Details

How to Cite
รักษาพรต ส., สุวรรณเจริญ ส. ., สว่างแก้ว เ. ., สามารถ เ. ., & บุญเฒ่า จ. . (2018). การผลิตสบู่คาเฟอีนเพื่อเพิ่มมูลค่ากากกาแฟเหลือทิ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(1), 38–43. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249800
บท
บทความวิจัย