ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococci ของสารสกัดจากพืชท้องถิ่นบางชนิดในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

มณฑล วิสุทธิ

บทคัดย่อ

แบคทีเรียก่อโรคกลุ่ม staphylococci เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปตามผิวหนังและเยื่อบุของมนุษย์และสัตว์ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวให้ทนต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาได้ดี ดังนั้นการค้นหาสารออกฤทธิ์จากพืช เพื่อควบคุมเชื้อกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็น ในการวิจัยนี้ได้มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดด้วยเอธานอลจากส่วนต่างๆ ของพืชท้องถิ่นที่พบในจังหวัดนครราชสีมาจำนวนทั้งหมด 58 ตัวอย่าง จากพืช 47 ชนิด ต่อเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC25923 ด้วยวิธี agar disc diffusion และ broth microdilution การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งทั้งหมด 16 ชนิด โดยผักแขยง และผลกรวยป่าให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสมากกว่าสารสกัดชนิดอื่น และเมื่อหาค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ (ค่า Minimum Inhibitory Concentration; MIC) และค่าความเข้มข้นของสารที่ต่ำที่สุดในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย (Minimum Bactericidal Concentration; MBC) พบว่าค่า MIC/MBC ของสารสกัดจากเหง้ากระชาย ผลกรวยป่า และใบพรวด มีค่าเท่ากับ 0.156/0.156 mg/ml 0.625/0.625 mg/ml และ 0.312/0.625 mg/ml ตามลำดับ ซึ่งจะให้ค่า MIC ที่ดีกว่าสารสกัดชนิดอื่น จึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งดี (มีค่า MIC < 1 mg/ml) ส่วนกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งปานกลาง (มีค่า MIC อยู่ระหว่าง 1-2.5 mg/ml) มีทั้งหมด 20 ชนิด และกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งอ่อน (มีค่า MIC > 2.5 mg/ml) มี 35 ชนิด งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่านอกจาก กระชาย และพรวด กรวยป่าน่าจะเป็นพืชที่มีศักยภาพ สำหรับการศึกษาวิจัยในเชิงลึก เกี่ยวกับฤทธิ์ต้านแบคทีเรียต่อไป

Article Details

How to Cite
วิสุทธิ ม. . (2017). ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococci ของสารสกัดจากพืชท้องถิ่นบางชนิดในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(4), 805–816. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249776
บท
บทความวิจัย