การแสดงออกของยีน DHX38 ในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่ได้รับสาร bisphenol A

Main Article Content

เกรียงไกร สมคำ
ชูตา บุญภักดี
หยาดเพชร โอเจริญ

บทคัดย่อ

Bisphenol A (BPA) เป็นสำรในกลุ่มรบกวนระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting chemicals: EDCs) ที่มีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายสัตว์โดยเฉพาะในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เครื่องหมายทางชีวภาพ (biomarker) หลายชนิดในการตรวจหาการปนเปื้อนสาร BPA ในสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของยีน DEAH box polypeptide 38 (DHX38) ด้วยเทคนิค semiquantitative RT-PCR ในเนื้อเยื่อ digestive gland หรือ hepatopancreas ของหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ตัวเต็มวัยที่ได้รับสาร BPA 10 นาโนกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (ng g-1dw) โดยวิธีการฉีด เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสาร BPA (0 ng g-1dw) นาน 0, 6 และ 12 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าระดับการแสดงออกของยีน DHX38 ระหว่างหอยแมลงภู่เพศผู้และเพศเมีย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อพิจารณาหอยแมลงภู่ไม่แยกเพศศึกษา พบว่ากลุ่มทดสอบที่ได้รับสาร BPA นาน 6 ชั่วโมง มีระดับการแสดงออกของยีน DHX38 เท่ากับ 0.96±0.11 มากกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.74±0.09 แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่เวลา 12 ชั่วโมง หอยแมลงภู่ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดสอบมีระดับการแสดงออกของยีน DHX38 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่เวลาเริ่มต้นและ 6 ชั่วโมง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดสอบที่เวลา 12 ชั่วโมง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นควรมีการทดสอบหอยแมลงภู่ให้ได้รับสาร BPA ที่ระยะเวลานานขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับการแสดงออกของยีน DHX38 ในหอยแมลงภู่ และใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสาร BPA ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

Article Details

How to Cite
สมคำ เ. ., บุญภักดี ช. ., & โอเจริญ ห. . (2017). การแสดงออกของยีน DHX38 ในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่ได้รับสาร bisphenol A. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(4), 768–781. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249766
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชูตา บุญภักดี, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131

2 โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131
3 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400

หยาดเพชร โอเจริญ, โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131

3 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400