ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสของส่วนสกัดขนุนอ่อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาครั้งแรกถึงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และฤทธิ์การยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดส จากส่วนสกัดเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอลของขนุนอ่อน ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระศึกษาโดยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (Total Phenolic Contents) โดยวิธี Folin-Ciocalteau ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบจากส่วนสกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.60 ± 0.18 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด 144.76 ± 2.30 มิลลิกรัมแกลลิก/กรัมของสารสกัดหยาบ นอกจากนี้พบว่าส่วนสกัดชั้นเมทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสจากลำไส้เล็กของหนูชนิดซูเครสดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 25.32 ± 8.36 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในขณะที่ส่วนสกัดไดคลอโรมีเทนแสดงฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสจากยีสต์ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 57.44 ± 10.36 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร จากผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นศักยภาพของขนุนอ่อนที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.