ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Penicillium citrinum Aspergillus flavus var. flavus และ Aspergillus tamarii ที่แยกได้จากยางพาราแผ่น

Main Article Content

ธัญญ์วาริน ชูวัฒน์วรกูล
สมจินตนา ทวีพานิชย์
พิชญาภรณ์ สุวรรณกูฏ
สายสมร ลําลอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Penicillium citrinum Aspergillus flavus var. flavus และ Aspergillus tamarii ซึ่งเป็นเชื้อราที่แยกได้จากยางพาราแผ่น โดยนําพืชสมุนไพรจํานวน 7 ชนิด ได้แก่ กระเทียม ข่า พลูกานพลูอบเชย ชุมเห็ดเทศ ตะไคร้มาสกัดด้วยตัวทําละลาย เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล นําสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ด้วยวิธี paper disc diffusion พบว่า สารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรที่ความเข้มข้น 100,000 ppm ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. citrinum และ A. flavus var. flavus ได้มากที่สุด คือ สารสกัดหยาบจากอบเชยที่สกัดด้วยตัวทําละลายเอทิลอะซิเตท โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งการเจริญกว้างที่สุด เท่ากับ 41.50 และ 25.93 mm ตามลําดับ ในขณะที่สารสกัดหยาบจากข่าที่สกัดด้วยตัวทําละลายเอทิลอะซิเตท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. tamarii ได้มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งการเจริญ เท่ากับ 25.83 mm จากนั้นนําไปทดสอบหาความเข้มข้นของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรในระดับต่ําที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญ ของเชื้อรา (MIC) พบว่า สารสกัดหยาบจากอบเชยที่สกัดด้วยตัวทําละลายเฮกเซนและตัวทําละลายเอทิลอะซิเตท สารสกัดหยาบจากข่าที่สกัดด้วยตัวทําละลายเมทานอล มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. citrinum ได้โดยมีค่าMIC เท่ากับ 25,000, 12,500 และ 25,000 ppm ตามลําดับ สารสกัดหยาบจากอบเชยที่สกัดด้วยตัวทําละลายเฮกเซนและตัวทําละลายเอทิลอะซิเตท สารสกัดหยาบจากข่าที่สกัดด้วยตัวทําละลายเมทานอล มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. flavus var. flavus ได้โดยมีค่า MIC เท่ากับ 50,000, 25,000 และ 50,000 ppm ตามลําดับ ส่วนสารสกัดหยาบจากข่าที่สกัดด้วยตัวทําละลายเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. tamarii ได้โดยมีค่า MIC เท่ากับ 781.25, 390.63 และ 3,125 ppm ตามลําดับ

Article Details

How to Cite
ชูวัฒน์วรกูล ธ. ., ทวีพานิชย์ ส. ., สุวรรณกูฏ พ., & ลําลอง ส. . (2017). ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Penicillium citrinum Aspergillus flavus var. flavus และ Aspergillus tamarii ที่แยกได้จากยางพาราแผ่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(2), 276–286. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249691
บท
บทความวิจัย