การตรวจวัดระดับเซลล์ตายแบบอะพอพโตซิสในชิ้นเนื้อมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบําบัด 5-FU ด้วยฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปี

Main Article Content

โมลิน ว่องวัฒนากูล
พัชราภรณ์ ทิพยวัฒน์
พัชรี เจียรนัยกูร

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งท๋อน้ำดีเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายและมักไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบําบัด ดังนั้นการพัฒนาเทคนิคเพื่อตรวจสอบการตอบสนองต่อยาเคมีบําบัดจึงมีความสําคัญต่อผลการรักษา เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปีเป็นเทคนิคที่ตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลภายในเซลล์และเนื้อเยื่อที่มีพยาธิสภาพได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการตอบสนองต่อยาเคมีบําบัด 5-FU ด้วยวิธีฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปี ในตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งท่อน้ำดีจากผู้ป่วย 8 ราย ซึ่งถูกจัดกลุ่มการตอบสนองต่อยาด้วยวิธี Histoculture drug response assay ที่ทําการเลี้ยงชิ้นเนื้อในสภาวะที่มียาเคมีบําบัด 5-FU ความเข้มข้น 200 µM นําชิ้นเนื้อที่ได้ฝังในพาราฟินและตัดชิ้นเนื้อแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งนำไปวัดการเกิดอะพอพโตซิสด้วยการย้อม TUNEL คํานวณหาการตอบสนองต่อยาเป็นค่าร้อยละของการยับยั้งด้วยยาเคมีบําบัด (%Inhibition Index;%II) ชิ้นเนื้อส่วนที่สองนําไปตรวจวัดด้วยวิธีฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปีและทําการวิเคราะห์จําแนกความแตกต่าง เปรียบเทียบกับ %II ด้วย Principal component analysis (PCA) ผลการศึกษาพบว่าอินฟราเรดสเปกตรัมของตัวอย่างที่ดื้อต่อยาหรือมีค่า %II ต่ำสามารถแยกออกจากกลุ่มที่ไวต่อยาหรือค่า %II สูงได้ และสเปกตรัมที่ใช้จําแนกคือตําแหน่ง 1621 cm-1 และ 1639 cm-1 มาจากผลการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนภายในเซลล์เนื่องจากกระบวนการอะพอพโตซิส ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิคอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปีเพื่อคัดกรองการตอบสนองต่อยา อย่างไรก็ตามควรทําการศึกษาในตัวอย่างที่มีเซลล์อะพอพโตซิสในระดับต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อสามารถใช้ คํานวณระดับของเซลล์ตายแบบอะพอพโตซิสต่อไป

Article Details

How to Cite
ว่องวัฒนากูล โ. ., ทิพยวัฒน์ พ. ., & เจียรนัยกูร พ. . (2017). การตรวจวัดระดับเซลล์ตายแบบอะพอพโตซิสในชิ้นเนื้อมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบําบัด 5-FU ด้วยฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดไมโครสเปกโตรสโคปี . วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(1), 95–104. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249666
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

โมลิน ว่องวัฒนากูล, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

พัชราภรณ์ ทิพยวัฒน์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

กลุ่มวิชาจุลชีววิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

พัชรี เจียรนัยกูร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002