การประยุกต์การวิเคราะห์อนุกรมเวลาและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศใน กทม. และจังหวัดใกล้เคียง วิเคราะห์และประเมินการแพร่กระจายรวมทั้งกําหนดพื้นที่เสี่ยงของ PM10 ใน กทม. โดยใช้ข้อมูล PM10 เฉลี่ยรายเดือนจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 31 สถานี ตั้งแต่ปี 2540 - 2557 ประมาณค่าข้อมูลสูญหายในเดือนที่ไม่มีผลการตรวจวัด จากนั้นพยากรณ์ค่าเฉลี่ยรายเดือนของปี 2558 โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลา แล้วคํานวณค่าเฉลี่ยรายปีเพื่อนําไปประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้เทคนิคการประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่ สุดท้ายจึงวิเคราะห์ขนาดพื้นที่และจํานวนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบในกทม. โดยแบ่งระดับพื้นที่เสี่ยงเป็น 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า ค่า PM10 เฉลี่ยปี 2558 ใน กทม. มีค่าอยู่ในช่วง
15.5 - 80.3 µg/m3 (ค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 50 µg/m3) โดยพบค่าสูงสุดที่สถานีสวนป่าวิภาวดี ดินแดง สถานีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานีสำนักงานเขตพระโขนง ตามลําดับ สําหรับขนาดพื้นที่เสี่ยงพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของ กทม. (ร้อยละ 80.14) มีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนพื้นที่เสี่ยงสูงที่สุดมีขนาด 30.673 km2 (ร้อยละ 1.95) และเมื่อวิเคราะห์จํานวนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบพบว่า ในพื้นที่เสี่ยงสูง (ค่า PM10 เฉลี่ยรายปีสูงกว่ามาตรฐาน) มีผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจํานวน 156,175 คน ส่วนในพื้นที่เสี่ยงสูงที่สุดมีผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจํานวน 17,262 คนการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยวิธีการทําให้เรียบด้วยเทคนิคเอกซ์โพเนนเชียลสามารถนํามาใช้พยากรณ์ค่าปริมาณ PM10 เฉลี่ยรายเดือนได้ดี โดยมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) อยู่ในช่วง 10.5 - 21.82 นอกจากนี้ เทคนิคการประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่ยังสามารถนํามาใช้ประมาณค่าความเข้มข้นของ PM10 ในบริเวณที่ไม่มีผลการตรวจวัดได้ ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนําไปใช้ประกอบการวางแผน ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา PM10 ได้ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.