การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการส่งถ่ายยีน gus เข้าสู่ใบอ่อนของแวววิเชียร

Main Article Content

รัฐพร จันทร์เดช
วารุต อยู่คง
ภพเก้า พุทธรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการส่งถ่ายยีน gus เข้าสู่แวววิเชียรการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบอ่อนแวววิเชียรในสภาพปลอดเชื้อบนสูตร อาหาร MS ที่เติม TDZ และ IAA ความเข้มข้น 0-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า เกิดยอดมากที่สุด 38.21 ยอดต่อชิ้นส่วนพืช บนสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความ เข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร และ IAA ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่ยอดที่เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม IAA ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการเจริญของรากทุกยอดและมีค่าเฉลี่ยจํานวนรากมากที่สุด 5.3 รากต่อยอด ส่วนการศึกษาอิทธิพลของสารปฏิชีวนะต่อการเจริญเติบโตของใบอ่อนแวววิเชียร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นความเข้มข้นที่สูงที่สุดของ cefotaxime ในอาหารที่ใบอ่อนแวววิเชียรสามารถเจริญและสร้างยอดได้ ไม่แตกต่างจากการทดลองชุดควบคุม ขณะที่ kanamycin ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของใบอ่อนแวววิเชียร การทดลองการส่งถ่ายยีน gus เข้าสู่ใบอ่อนแวววิเชียร โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ LBA4404 (pSTART) พบว่าการเขย่าใบอ่อนแวววิเชียรร่วมกับ Agrobacterium นาน 20 นาทีให้ประสิทธิภาพในการส่งถ่ายยีนสูงที่สุด คือ 32.30 เปอร์เซ็นต์ และสามารถตรวจสอบยืนยันการแสดงออกของยีน gus ได้โดยวิธี gus assay 

Article Details

How to Cite
จันทร์เดช ร., อยู่คง ว. ., & พุทธรักษ์ ภ. . (2016). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการส่งถ่ายยีน gus เข้าสู่ใบอ่อนของแวววิเชียร. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(4), 770–782. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249639
บท
บทความวิจัย