การตอบสนองของผีเสื้อแพนซีบางชนิด (Lepidoptera: Nymphalidae: Junonia) ต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะโลกร้อนทําให้สภาพอากาศในประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดํารงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยเฉพาะสัตว์เลือดเย็น ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง และการทํางานที่ผิดปกติในระบบนิเวศ งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการตอบสนองต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นของผีเสื้อแพนซี 3 ชนิดได้แก่ ผีเสื้อแพนซี มยุรา (Junonia almana), ผีเสื้อแพนซีตาลไหม้ (J. iphita) และผีเสื้อแพนซีสีตาล (J. lemonias) การทดลองทําโดยเลี้ยงผีเสื้อที่อุณหภูมิ 25, 30, 35 และ 40 °C เพื่อเปรียบเทียบอัตราการอยู่รอด ระยะเวลาในการเจริญ น้ำหนักและขนาดของผีเสื้อ อัตราการอยู่รอดของผีเสื้อแพนซีทั้งสามชนิดลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และที่อุณหภูมิ40 °C ผีเสื้อทุกชนิดไม่สามารถอยู่รอดได้ ระยะเวลาในการเจริญของผีเสื้อทุกชนิดที่แต่ละอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (Tukey’s HSD test, p < 0.0001) และใช้เวลาน้อยที่สุดที่ 30 °C ที่อุณหภูมิจาก 25 ถึง 30 °C รูปแบบการตอบสนองของผีเสื้อทั้ง 3 ชนิดไม่ต่างกัน ยกเว้นน้ำหนักแห้งที่เพิ่มขึ้นของผีเสื้อแพนซีสีตาล ผีเสื้อแพนซีตาลไหม้ มีขอบเขตความทนทานต่ออุณหภูมิได้ต่ำที่สุดคือ 30 °C ดังนั้นความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ภายใต้ภาวะโลกร้อนของผีเสื้อแพนซีตาลไหม้จึงสูงกว่าผีเสื้อชนิดอื่นที่ศึกษา การตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นที่ต่างกันของผีเสื้อชนิดต่าง ๆ ในสกุลเดียวกันแสดงให้เห็นว่ามีความจําเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ในผีเสื้อ และสัตว์กลุ่มอื่น ๆ เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการวางแผนบริหารจัดการและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายใต้ภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.