การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายทะเล: งานวิจัยในประเทศไทย

Main Article Content

จารุวรรณ มะยะกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายทะเล พบว่าเมื่อมีพื้นที่ว่างเกิดขึ้น สาหร่ายกลุ่มแรก (pioneer species) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็ก มีความสามารถในการแพร่กระจายสูง และมีอัตราการเจริญเติบโตดีจะเข้ามาลงเกาะและครอบครองพื้นที่ว่างเป็นกลุ่มแรก ในระยะต้นของการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะพบสาหร่ายสี เขียวเข้ามาลงเกาะก่อน โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวสกุล Ulva ต่อมาจะถูกแทนที่ด้วยสาหร่ายกลุ่มกลาง (mid- successional species) ส่วนใหญ่จะพบสาหร่ายสีแดงเป็นสาหร่ายกลุ่มเด่นในระยะนี้และเมื่อเวลาผ่านไปสาหร่ายกลุ่มสุดท้าย (late successional species) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตรากาแพร่กระจาย การลงเกาะ และอัตราการเจริญเติบโตต่ำ มีขนาดใหญ่ และอายุยืน จะเข้ามาครอบครองพื้นที่เป็นกลุ่มสุดท้าย โดยในระยะนี้มักจะพบสาหร่ายสีน้ำตาลเป็นสาหร่ายกลุ่มเด่น ซึ่งงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายในเขตชายฝั่งของประเทศไทยนั้นมีเพียง 2 ฉบับ และผลการศึกษาพบว่า สาหร่ายสีเขียวชนิด Ulva paradoxa เป็นสาหร่ายชนิดแรก ที่เข้ามาลงเกาะและครอบครองพื้นที่ว่างในช่วง 10 เดือนแรก และถูกแทนที่ด้วยสาหร่ายสีแดงชนิด
Polysiphonia sphaerocarpa ตามด้วยสาหร่ายสีน้ำตาลสกุล Padina ที่อยู่ในระยะ Dictyperpa stage of Padina หรือ ระยะ Vaughaniella การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายในชุมชีพนี้ มีรูปแบบอย่างง่ายและเป็นไปตามแบบ “inhibition model” โดยสาหร่ายกลุ่มแรกจะยับยั้งการลงเกาะและลดการเติบโตของสาหร่ายกลุ่มถัดมา อย่างไรก็ตามรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายมีความผันแปรเชิงเวลาและสถานที่ ขึ้นอยู่กับชนิดช่วงเวลาและความถี่ของการเกิดการรบกวน และการมีพร้อมของชนิดหน่อพันธุ์ของสาหร่ายทะเล

Article Details

How to Cite
มะยะกูล จ. (2016). การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสาหร่ายทะเล: งานวิจัยในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(4), 658–669. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249612
บท
บทความวิชาการ