การคัดแยกและการตรวจสอบความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ของ แบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากผลิตภัณฑ์ปลาหมัก ปลาส้ม

Main Article Content

Piyorot Hongsachart

บทคัดย่อ

การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากตัวอย่างปลาส้มที่เก็บจากตลาดพื้นบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย แยกได้แบคทีเรียกรดแลคติกทั้งหมด 37 ไอโซเลท แบ่งเป็นแบคทีเรียรูปร่างกลม 8 ไอโซเลท และรูปร่างแท่ง 29 ไอโซเลท นําเชื้อที่แยกได้มาทดสอบการต่อต้านการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคจํานวน 11 ชนิด ด้วยวิธีดิสดิฟฟิวชัน (disc diffusion method) พบว่าแบคทีเรียกรดแลคติกไอโซเลทหมายเลข L8-16 ให้ผลในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมลบและแกรมบวก โดยแสดงการยับยั้งอย่างมาก ต่อเชื้อ Shigella sp., Pseudomonas sp. และ Pseudomonas aeruginosa แสดงการยับยั้งระดับปานกลางต่อเชื้อ Bacillus megaterium, Bacillus cereus, Escherichia coli และ Salmonella Typhi ในขณะที่แบคทีเรียกรดแลคติกไอโซเลทหมายเลข L7-1 แสดงการยับยั้งอย่างมากต่อเชื้อ S. Typhi และ P. aeruginosa และแสดงการยับยั้งระดับปานกลางต่อเชื้อ Staphylcoccus aureus, B. subtilis, E. coli และ Klebsiella pneumoniae แบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้ส่วนใหญ่สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวกด้วยขนาดของบริเวณยับยั้งระดับกลาง
(11-12 มม.) และขนาดบริเวณยับยั้งระดับมาก (13-15 มม.) ยกเว้นไอโซเลท L8-14 ที่สามารถยับยั้ง B. cereus ที่เป็นแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแบคทีเรียกรดแลคติกชนิดอื่น จากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดแยกใหม่มีศักยภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค ซึ่งจะนําไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นสารกันเสียชีวภาพ (biopreservative) ต่อไป

Article Details

How to Cite
Hongsachart, P. . (2016). การคัดแยกและการตรวจสอบความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ของ แบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากผลิตภัณฑ์ปลาหมัก ปลาส้ม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(2), 318–330. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249500
บท
บทความวิจัย