เทคนิคการวัดการกระจายตัวของทิศแกนง่ายสำหรับแผ่นบันทึกข้อมูล แบบตั้งฉาก ตอนที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนําเสนอเทคนิคการวัดการกระจายตัวของทิศแกนง่ายสําหรับแผ่นบันทึกข้อมูลแบบตั้งฉาก ซึ่งเป็นตัวแปรที่สําคัญที่นําไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าความหนาแน่นความจุของแผ่นบันทึกข้อมูลแม่เหล็กซึ่งมีค่าสูงถึง 1 เทระบิท/ตารางนิ้ว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ การวัดการเบี่ยงเบนของรูปร่างผลึกวิทยาด้วยเทคนิคการวัดเส้นโค้งเอ็กซ์เรย์ร็อกกิ้ง (X-ray rocking curve) และ การวัดทางแม่เหล็ก (magnetic measurement) โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายตัวของทิศแกนง่ายคือผลของอันตรกิริยาแลกเปลี่ยนและปริมาณแม่เหล็กสถิตซึ่งจะไม่ถูกรวมเข้าไปในการวัดด้วยวิธีการเบี่ยงเบนของโครงสร้างผลึก ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมสําหรับการวัดการกระจายตัวของทิศแกนง่ายคือ วิธีการวัดทางแม่เหล็กซึ่งสามารถรวมผลทั้งสองส่วนนั่นเอง ในช่วง
แรกการวัดการเปลี่ยนแปลงค่ารีมาเนนท์จะถูกนํามาใช้สําหรับการวัดการกระจายตัวของทิศแกนง่ายซึ่งเป็นวิธีที่ใช้สําหรับแผ่นบันทึกข้อมูลแบบเดิมหรือแบบขนาน แต่พบว่าผลของสนามหักล้างปริมาณมากซึ่งมีผลต่อสนามแม่เหล็กภายนอกยากต่อการคํานวณให้ถูกต้องแม่นยํา ดังนั้นวิธีการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าเค-อออร์ซิวิตี้ จึงได้ถูกเสนอขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการวัดการกระจายตัวเนื่องจากที่จุดนี้สนามหักล้างจะมีค่าเป็นศูนย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.