การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคตับของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ธรรมพร
เกศริน มณีนูน
นิสิตา บํารุงวงศ์
มาลินี วงศ์นาวา

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้สมุนไพรรักษาโรคตับของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา ระหว่าง พ.ศ. 2555-2557 โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ร่วมกับการสังเกตอย่างใกล้ชิด คัดเลือกหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์จํานวน 5 คน ผลการศึกษา รวบรวมพืชสมุนไพรได้ทั้งสิ้นจํานวน 87 ชนิด 78 สกุล 44 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Apiaceae รองลงมา คือ Fabaceae และ Phyllanthaceae ตามลำดับ ส่วนของพืชที่นำมาใช้มากที่สุด คือ ส่วนใต้ดิน นิยมใช้วิธีต้มน้ำดื่มมากที่สุด และรสยาหลักของสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคตับ คือ รสขม รวบรวมตำรับยาได้จำนวน 18 ตำรับ พบตำรับยาใช้ภายในมากที่สุด จำนวน 15 ตำรับ พืชสมุนไพรที่มีการใช้ซ้ำกันมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ชิงชี่ (Capparis micracantha DC.) ไม้เท้ายายม่อม (Clerodendrum indicum (L.) Kuntze) ย่านาง
(Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) มะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa L.) คนทา (Harrisonia perforata (Blanco) Merr.) มะตูม (Aegle marmelos (L.) Corrêa ex Roxb.) สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) และจันทน์เทศ (Myristica fragrans Houtt.) สมุนไพรที่น่าสนใจและยังไม่มีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคตับเช่น กําลังวัวเถลิง (Anaxagorea luzonensis A. Gray) ชิงชี่ใบเหลี่ยม (Capparis acutifolia Sweet) และเต่าร้างแดง (Caryota mitis Lour.)

Article Details

How to Cite
ธรรมพร จ. ., มณีนูน เ. ., บํารุงวงศ์ น. ., & วงศ์นาวา ม. . (2016). การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคตับของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(1), 124–141. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249474
บท
บทความวิจัย