การฟอกกาวไหมด้วยเอนไซม์: ความท้าทายของกระบวนการเพื่อยกระดับคุณภาพไหมไทย

Main Article Content

เปรมวดี วงษ์แสงจันทร์

บทคัดย่อ

ผ้าไหมไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ผิวสัมผัสและความมันวาว และเป็นงานหัตถกรรมที่มีลวดลายสวยงาม การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตไหมไทยสามารถทําได้ในขั้นตอนการฟอกกาวไหม โดยการใช้เอนไซม์โปรติเอสที่มีความจําเพาะต่อโปรตีนกาวไหม ซึ่งทําให้การฟอกกาวไหมมีจุดยุติอย่างแท้จริง และการใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่าวิธีการดั้งเดิมทําให้สามารถฟอกกาวไหมได้อย่างสม่ำเสมอและลดความเสี่ยงที่โปรตีนเส้นใยไหมจะถูกทําลายลงได้ ดังนั้นจึงได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดีขึ้น และยังลดปัญหาความไม่สม่ำเสมอของกาวไหมบนเส้นไหมที่รวบรวมมาจากหลายแหล่งได้การฟอกกาวไหมด้วยเอนไซม์มีส่วนช่วยสร้างค่านิยมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ผลิตและผู้ใช้ได้โดยลดการใช้สารเคมีพลังงาน และน้ำ (Reduce) จึงลดการสร้างมลภาวะ นอกจากนี้ยังสามารถแยกเอนไซม์ออกจากน้ำทิ้งฟอกกาวไหมแล้วนํากลับมาใช้ได้ใหม่ (Reuse) อีกทั้งแยกกาวไหมไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ (Recovery) และนําน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ได้ด้วย (Recycle) จึงลดค่าใช้จ่ายในการบําบัดน้ำเสียและเพิ่มมูลค่าให้กับการฟอกกาวไหมทั้งกระบวนการ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าเกินกว่ามูลค่าของเอนไซม์ที่นํามาใช้และเกิดเป็นวัฎจักรที่อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบตั้งแต่การผลิตเอนไซม์ การถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ใช้เอนไซม์ เทคโนโลยีการรวบรวมกาวไหม และการนํากาวไหมที่ได้มาทําเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดของผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นต้น

Article Details

How to Cite
วงษ์แสงจันทร์ เ. . (2016). การฟอกกาวไหมด้วยเอนไซม์: ความท้าทายของกระบวนการเพื่อยกระดับคุณภาพไหมไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(1), 1–21. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249455
บท
บทความวิชาการ