สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันไขไก่ โดยใช้อุลตราโซนิกในการท้าปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอดีเซลจากน้้ามันไขไก่โดยใช้อุลตราโซนิกช่วยในการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน วางแผนการทดลองโดยวิธี Box-Behnken Design ด้วยโปรแกรม Minitab (Version 16) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร 3 ตัวแปร ได้แก่ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (0.5 1.0 และ 1.5 ร้อยละโดยน้ำหนัก) อัตราส่วนโดยโมลระหว่างเมทานอลต่อน้ำมัน (3:1 6:1 และ 9:1) และเวลาการทำปฏิกิริยา (20 30 และ 40 นาที) โดยใช้อุลตราโซนิกคลื่นความถี่ 30 กิโลเฮิรตซ์ช่วยในการทำปฏิกิริยา จากผลการศึกษารูปแบบสมการที่ได้พบว่า ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์ อัตราส่วนโดยโมลระหว่างเมทานอลต่อน้ำมัน และเวลาการทำปฏิกิริยา มีอิทธิผลต่อค่าร้อยละเมทิลเอสเทอร์อย่างมีนัยสำคัญ R2 = 99.96% สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอดีเซลพบว่า ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 1.50 ร้อยละโดยน้ำหนัก อัตราส่วนโดยโมลของเมทานอลต่อโมลของน้ำมัน เท่ากับ 6.87:1 และเวลาการทำปฏิกิริยา เท่ากับ 32.52 นาที ตามลำดับ โดยสภาวะดังกล่าวสามารถผลิตเมทิลเอสเทอร์สูงสุดเท่ากับร้อยละ 99.11 น้ำมันไขไก่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ เนื่องจากมีค่าเมทิลเอสเทอร์สูงกว่าร้อยละ 96.5 ตามมาตรฐานของ ASTM 6751
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.