ความผิดปกติของกระดองเต่าเหลือง Indotestudo elongata (Blyth,1853) ที่บ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กัลยา ศรีประทีป
วรัญญู พรหมกุล

บทคัดย่อ

การสำรวจความผิดปกติของกระดองเต่าเหลือง Indotestudo elongata ที่บ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 โดยการเก็บรวบรวมและตรวจสอบความผิดปกติของกระดองหลังและกระดองท้องจากตัวอย่างเต่าเหลือง 514 ตัว ผลการศึกษาพบว่าความผิดปกติของกระดองจำนวน 41 ตัว (7.98%) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเพิ่มหรือลดของจำนวนเกล็ด 24 ตัว (4.67%) ส่วนใหญ่พบบริเวณแผ่นเกล็ดสันหลังและแผ่นเกล็ดชายโครง กลุ่มที่ 2 พบรอยโรคหรือรอยแตกหักของกระดอง 12 ตัว (2.33%) และกลุ่มที่ 3 แผ่นเกล็ดมีขนาดผิดสัดส่วน 5 ตัว (0.97%) ความผิดปกติที่พบของเต่าเหลืองทุกตัวเกิดขึ้นที่กระดองหลังเท่านั้น โดยเฉพาะการเกิดรอยโรคหรือรอยแตกหักของกระดองเต่าส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากอาศัยกับชุมชนในหมู่บ้าน การศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการหาแนวทางป้องกันและอนุรักษ์เต่าเหลืองร่วมกับชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรีประทีป ก. ., & พรหมกุล ว. . (2015). ความผิดปกติของกระดองเต่าเหลือง Indotestudo elongata (Blyth,1853) ที่บ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(4), 641–655. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249432
บท
บทความวิจัย