การจัดกลุ่มลูกค้าของบริษัทโลจิสติกส์ที่ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลระหว่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มลูกค้าของบริษัทโลจิสติกส์ที่ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลระหว่างประเทศโดยใช้ทําการเปรียบเทียบเทคนิคการจัดกลุ่ม 4 วิธีได้แก่ การจัดกลุ่มด้วยวิธีการเชื่อมโยงเฉลี่ย (average linkage) วิธีการรวมศูนย์ (centroid linkage) วิธีเคมีน (K-means algorithm) และวิธีแบบก่อตัวด้วยตนเองของโคโฮเนน (Kohonen’s self-organizing maps neural networks: SOM) ตัวแปรในการจัดกลุ่มมี 6 ตัว คือ ภูมิภาค ประเภทธุรกิจลูกค้า จํานวนท่าเรือที่ใช้บริการ จํานวนตู้คอนเทนเนอร์จํานวนใบกํากับภาษีและยอดเงินการใช้บริการ การจัดกลุ่มที่เหมาะสมพิจารณาจากเกณฑ์ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของระยะห่างระหว่างข้อมูลภายในกลุ่ม ร่วมกับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของระยะห่างระหว่างกลุ่มซึ่งถ้าค่าดัชนีการเปรียบเทียบต่ำ แสดงว่าการจัดกลุ่มของลูกค้ามีความเหมาะสม
การจัดกลุ่มพบว่า วิธีแบบก่อตัวด้วยตนเองของโคโฮเนนแบบ 2×2 มิติมีค่าดัชนีการเปรียบเทียบต่ำที่สุด ซึ่งแบ่งลูกค้าของบริษัทโลจิสติกส์ที่ใช้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลระหว่างประเทศ ออกเป็น 4 กลุ่มตามที่อยู่และลักษณะการประกอบธุรกิจของลูกค้า กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 ลูกค้าอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและเอเซียตะวันออก จํานวน 9,367 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.88 ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจสินค่าอุปโภคและบริโภคคิดเป็นร้อยละ 43.72 ของลูกค้าทั้งหมด กลุ่มที่ 2 มีลูกค้าจํานวน 7,232 ราย หรือร้อยละ 23.84 อยู่ในภูมิภาคเอเซียใต้ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทโลจิสติกส์คิดเป็นร้อยละ 36.38 ของลูกค้าทั้งหมด กลุ่มที่ 3 มีลูกค้าจำนวน 7,391 ราย หรือร้อยละ 24.37 เป็นลูกค้าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทโลจิสติกส์คิดเป็นร้อยละ 31.90 กลุ่มที่ 4 มีลูกค้าจำนวน 6,340 ราย หรือร้อยละ 20.90 อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-เหนือ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีจำนวน 4,062 ราย และประเทศฮ่องกงและไต้หวัน จํานวน 2,278 ราย ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทโลจิสติกส์คิดเป็นร้อยละ 46.37 ของจำนวนลูกค้าภายในกลุ่ม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.