ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับขนาดของกระดองเต่าเหลือง Indotestudo elongata ที่จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับขนาดของกระดองเต่าเหลือง Indotestudo elongata โดยศึกษาทั้งกระดองหลังและกระดองท้อง บริเวณ “หมู่บ้านเต่า” หรือ บ้านกอก ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโดยวิธีการจับแบบสุ่ม ตัวอย่างที่ได้สามารถแบ่งออกเป็นลูกเต่า (อายุแรกเกิด-6ปี) จำนวน 160 ตัว เต่าตัวเต็มวัยเพศผู้ 54 ตัว และเพศเมีย 50 ตัว จากการวิเคราะห์ค่าคงที่ของการถดถอย พบว่าลูกเต่ามีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) อยู่ระหว่าง 0.9642 - 0.9779 เต่าตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ ระหว่าง 0.9159 - 0.9468 และ 0.9273 - 0.9458 ตามลำดับ แสดงว่าเต่าตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี มีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับความยาวและน้ำหนักกับความกว้างของกระดองมากกว่าเต่าตอนโตเต็มวัย สมการความสัมพันธ์คือ Log W = 2.794log PL – log 3.181 (R2= 0.9779, n = 160, p <0.01) เต่าตัวเต็มวัยเพศผู้มีความสัมพันธ์ของน้ำหนักตัวผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของความกว้างกระดองหลังมีค่ามากที่สุด สมการความสัมพันธ์คือ Log W = 3.128log CW – log 3.535 (R2= 0.9468, n = 54, p < 0.01) และเต่าตัวเต็มวัยเพศเมียมีความสัมพันธ์ของน้ำหนักตัวผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของความยาวกระดองท้องมากที่สุด สมการความสัมพันธ์คือ Log W = 3.028log PL – log 3.705 (R2 = 0.9458, n = 50, p < 0.01) จากความสัมพันธ์ที่ได้พบว่าน้ำหนักตัวของเต่าเหลืองมีความผันแปรตามความยาวและความกว้างของกระดองหลังและกระดองท้องด้วยระดับความน่าเชื่อถืออย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 99% (p < 0.01) ดังนั้น วิธีวิเคราะห์ค่าคงที่ของการถดถอยจึงสามารถนำมาใช้ประมาณค่าความสัมพันธ์ของกระดองเต่าเหลืองได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.