การวิเคราะห์คาริโอไทป์ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว(Gallus gallus gallus Linnaeus, 1758) ด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากไข่

Main Article Content

สุมาลี พิมพันธุ์
อลงกลด แทนออมทอง
ยอดชาย ช่วยเงิน
โดม ประทุมทอง

บทคัดย่อ

รายงานนี้เป็นรายงานแรกของการศึกษาคาริโอไทป์ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว (Gallus gallusgallus) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาริโอไทป์ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว โดยเตรียมโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากไข่ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว ที่อุณหภูมิ 41 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เก็บเกี่ยวเซลล์ด้วยเทคนิคโคลชิซิน-ไฮโปโทนิค-ฟิกเซชั่น-แอร์ดรายอิง ทำการย้อมสีแบบธรรมดา และแถบสีแบบจี ผลการศึกษาพบว่าไก่ป่าแดงตุ้มหูขาวมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากับ 78 แท่ง โครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 88 ประกอบด้วย โครโมโซม 2 ประเภท คือ โครโมโซมชุดใหญ่จำนวน 9 คู่ และโครโมโซมชุดเล็กจํานวน 30 คู่ โครโมโซมชุดใหญ่เป็นโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 1 คู่ ซับเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 1 คู่ เทโลเซนทริกขนาดกลาง 1 คู่ ซับเมทาเซนทริกขนาดกลาง 1 คู่ เทโลเซนทริกขนาดเล็ก 2 คู่ เมทาเซนทริกขนาดเล็ก 2 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ ระบบโครโมโซมเพศเป็นระบบ ZW เพศผู้มีโครโมโซมเพศ ZZ และเพศเมียมีโครโมโซมเพศ ZW โครโมโซม Z เป็นชนิด เมทาเซนทริกขนาดกลาง โครโมโซม W เป็นชนิดเมทาเซนทริกขนาดเล็ก โครโมโซมชุดเล็กมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็กไม่สามารถทําการแยกชนิดของโครโมโซมได้ การย้อมโครโมโซมแถบสีแบบจีพบว่าสามารถทําการจับคู่
โครโมโซมชุดใหญ่ได้อย่างชัดเจนและนับแถบแบนได้ 139 แถบ สูตรคาริโอไทป์ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว คือ
2n (78) = Lm2+Lsm2+Mt2+Msm2+St4+Sm4 + โครโมโซมชุดเล็ก + โครโมโซมเพศ (ZW)

Article Details

How to Cite
พิมพันธุ์ ส. ., แทนออมทอง อ. ., ช่วยเงิน ย. ., & ประทุมทอง โ. . (2015). การวิเคราะห์คาริโอไทป์ของไก่ป่าแดงตุ้มหูขาว(Gallus gallus gallus Linnaeus, 1758) ด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากไข่. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(1), 39–48. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249346
บท
บทความวิจัย