การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการสร้างบ้านพักอาศัย: กรณีศึกษาบ้านพักอาศัยขนาด 300 ตารางเมตร

Main Article Content

ธิบดินทร์ แสงสว่าง
ทศพล สุขจิตร์
ธีระชัย สุรโชติเวศย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ซึ่งแสดงถึงการเกิดขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ในหน่วยของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และเสนอแนวทางในการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านโดยมีกรณีศึกษา คือ บ้านพักอาศัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 300 ตารางเมตร พบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 241.43 ตัน CO2e จากวัสดุและกิจกรรมในการก่อสร้างบ้าน จากการศึกษาพบว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกมาจาก 4 แหล่ง คือ งานโครงสร้างจํานวน 118.31 ตัน CO2e งานตัวบ้าน 124.12 ตัน CO2e งานประปาและไฟฟ้าจํานวน 0.81 ตัน CO2e และงานกิจกรรมจากการก่อสร้างจํานวน 1.09 ตัน CO2e จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากที่สุด จากการสร้างแบบจำลองบ้านที่มีขนาดเดียวกัน มีการเปลี่ยนวัสดุเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าเมื่อเปลี่ยนวัสดุการก่อสร้างจากคอนกรีตเป็นไม้สัก สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงได้ 104.08 ตัน CO2e โดยปริมาณที่ลดได้คิดเป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการปลูกไม้สักจํานวน 5.8 ไร่ในระยะเวลา 10 ปี

Article Details

How to Cite
แสงสว่าง ธ., สุขจิตร์ ท. ., & สุรโชติเวศย์ ธ. . (2014). การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการสร้างบ้านพักอาศัย: กรณีศึกษาบ้านพักอาศัยขนาด 300 ตารางเมตร. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 42(3), 579–588. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249313
บท
บทความวิจัย