การวิเคราะห์หาสารประกอบฟีนอลในน้ำส้มควันไม้และควันจากการเผาถ่านกะลามะพร้าวด้วยเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชันแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี

Main Article Content

ธัญวรรณ กฤษณะพุกต์
วัฒนาพร ลิ่มทองวิรัตน์
สาวิตรี โตกะหุต
สุวรรณ ไชยสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไฟเบอร์ SPME ที่เคลือบด้วยสารดูดซับต่างกัน 2 ชนิดคือ Carboxen/PDMS ขนาด 75 ไมโครเมตร และ PDMS/DVB ขนาด 65 ไมโครเมตร ในการวิเคราะห์หาสารประกอบฟีนอลในน้ำส้มควันไม้จากกะลามะพร้าวเปรียบเทียบกับควันที่ได้จากการเผาถ่านกะลามะพร้าว ด้วยเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี จากการศึกษาพบว่าในควันจากการเผาถ่านมีสารประกอบฟีนอลหลากหลายชนิดกว่าในน้ำส้มควันไม้ ซึ่งในการสกัดสารประกอบฟีนอลในน้ำส้มควันไม้โดยใช้ไฟเบอร์ Carboxen/PDMS และไฟเบอร์ PDMS/DVB สามารถตรวจพบสารประกอบฟีนอล 10 และ 14 ชนิด ตามลำดับ ส่วนการสกัดสารประกอบฟีนอลในควันที่ได้จากการเผาถ่าน พบสารประกอบฟีนอลเท่ากันคือ 17 ชนิด ซึ่งพบปริมาณของฟีนอลมากที่สุดในทั้ง 2 ตัวอย่าง ดังนั้นไฟเบอร์ PDMS/DVB จึงมีประสิทธิภาพในการสกัดสารประกอบฟีนอลได้หลากหลายชนิดกว่าไฟเบอร์ Carboxen/PDMS

Article Details

บท
บทความวิจัย