ปรสิตภายนอกของสุนัขเลี้ยงในพื้นที่ชนบทของจังหวัดเชียงราย ทางภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร
เก่ง เจียมกิจวัฒนา
งามนิตย์ ราชกิจ

บทคัดย่อ

ปรสิตภายนอกหลายชนิดของสุนัขเลี้ยงมีความสําคัญต่อทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก เห็บหมัด และเหา โดยสามารถนําเชื้อโรคไปสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ การศึกษาครั้งนี้เพื่อสํารวจปรสิตภายนอกในสุนัขเลี้ยงจาก 8 ตําบลของอําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทยในระหว่างเดือนมิถุนายนและตุลาคม พ.ศ. 2554 ปรสิตภายนอกทั้งหมดที่เก็บได้ทั้งหมดมีจํานวน 1,498 ตัวอย่าง ซึ่งพบปรสิตภายนอก 3 ชนิด ได้แก่ Rhipicephalus sanguineus (เห็บแข็งคิดเป็นร็อยละ 64.55) Ctenocephalides felis orientis (หมัดคิดเป็นร้อยละ 33.85) และ Heterodoxus spiniger (เหากัดคิดเป็นร้อยละ 1.60) ความชุกทั้งหมดของปรสิตภายนอกที่พบในสุนัขเลี้ยงคิดเป็นร้อยละ 91.25 พื้นที่พบมีความชุกมากที่สุดคือ ตําบลแม่ข้าวต้มและตําบลห้วยสัก คิดเป็น
ร้อยละ 100 และพื้นที่มีความชุกต่ําสุดพบในตําบลเวียง คิดเป็นร้อยละ 80 จํานวนสุนัขที่ตรวจพบเห็บ Rhipicephalus sanguineus คิดเป็นร้อยละ 81.25 (130/146 ตัว) สําหรับจํานวนสุนัขที่ตรวจพบหมัด Ctenocephalides felis orientis คิดเป็นร้อยละ 53.13 (85/146 ตัว) และจํานวนสุนัขที่ตรวจพบเหา
Heterodoxus spiniger คิดเป็นร้อยละ 2.50 (4/146 ตัว) ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นทั้งหมดของชนิดปรสิตภายนอกเท่ากับ 10.26 ต่อโฮสต์หนึ่งตัว ซึ่งพบค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของเห็บ Rhipicephalus sanguineus เท่ากับ 7.44 เหา Heterodoxus spiniger เท่ากับ 6.00 และหมัด Ctenocephalides felis orientis เท่ากับ 5.96 ต่อโฮสต์หนึ่งตัว ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่นั้นพบปรสิตภายนอก Rhipicephalus sanguineus และ Ctenocephalides felis orientis อาศัยอยูู่รวมกันบนตัวสุนัขเลี้ยง (คิดเป็นร้อยละ 46.57 ของจํานวนสุนัขที่พบ 68 ตัว) ปรสิตภายนอกทั้งสองชนิดนี้อาจเป็นพาหะที่มีความสําคัญในการถ่ายทอดเชื้อโรคจากสุนัขเลี้ยงมาสู่คนและสัตว์ชนิดอื่นในพื้นที่มีความชุกสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย