ระบบควอรัมเซนซิงการสื่อสารของแบคทีเรีย: กลไกการควบคุมการก่อโรคในเชื้อ Pseudomanas aeruginosa

Main Article Content

มณฑล เลิศวรปรีชา
ญฏารัตน์ สุวรรณมณี

บทคัดย่อ

การควบคุมการทํางานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ กลไกการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้นได้ในสองรูปแบบคือ การสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์ (direct cell contact) และการสื่อสารผ่านตัวกลาง (mediators) เช่น โปรตีนหรือฮอร์โมนที่ไปมีผลกระตุ้นหรือควบคุมการทํางานของเซลล์อื่นผ่านการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ (cell signaling) ในกรณีของแบคทีเรียแต่ละชนิดก็มีการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์เช่นกัน เรียกว่า “quorum sensing system” ซึ่งเป็นการสื่อสารที่เกิดจากการสร้างสารที่เรียกว่า autoinducer ทําหน้าที่เปรียบเสมือนสื่อกลางในการสื่อสาร การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างเซลล์แบคทีเรียเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งที่แบคทีเรียใช้ควบคุมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและควบคุมการแสดงออกของยีนหลายชนิด
รวมทั้งยีนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยก่อโรค (virulence gene) ด้วย ในบทความนี้จะได้อธิบายถึงความรู้และกลไกการควบคุมพื้นฐานของระบบ quorum sensing พร้อมทั้งตัวอย่างของการตอบสนองต่อระบบ quorum sensing ในการควบคุมการแสดงออกของยีนที่ก่อโรครุนแรงในเชื้อ Pseudomonas aeruginosa

Article Details

บท
บทความวิชาการ