การเปรียบเทียบการสกัดอาร์เอ็นเอสามวิธีเพื่อใช้ในการศึกษา การแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค RT-qPCR จากพืชวงศ์พริกไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พืชในวงศ์พริกไทยเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน พบว่าสารเซสควิเทอร์ปีนซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ ในพืชกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจ แต่มีราคาสูงเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อน ทำให้ยากต่อการผลิตโดยกระบวนการเคมี การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย จึงเป็นทางเลือกที่จะสามารถผลิตสารที่มีคุณภาพดีและราคาถูกได้ ในการนี้ต้องทราบการควบคุมการแสดงออกของยีนสำหรับเอนไซม์ในวิถีการสังเคราะห์สาร ซึ่งต้องการอาร์เอ็นเอที่มีคุณภาพดีแต่ปัญหาอุปสรรคที่พบในการสกัดอาร์เอ็นเอจากพืชวงศ์นี้คือ ในใบพืชมีสารประกอบฟีโนลิคสูงและมีคลอโรฟิลล์สูง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อที่จะหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถสกัดแยกเอาอาร์เอ็นเอที่มีคุณภาพสูงออกมาจากใบพลู ใบชะพลู และใบดีปลี จากการเปรียบเทียบวิธีสกัด
อาร์เอ็นเอโดยใช้ RNeasy® Plant Mini kit (QIAGEN®), TRIzol® Reagent (Life technologiesTM) และ EasyREDTM Total RNA Extraction (iNtRON Biotechnology) พบว่าการใช้ชุด RNeasy® Plant เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด สามารถสกัดอาร์เอ็นเอที่มีคุณภาพสูง ปริมาณสม่ำเสมอ จากพืชทั้งสามชนิดที่ทดสอบ เมื่อนำอาร์เอ็นเอไปวิเคราะห์การแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค RT-qPCR พบว่าอาร์เอ็นเอนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบในการเพิ่มปริมาณทรานสคริปต์ของ Actin และ Sesquiterpene synthase ได้ ชุดสกัดอาร์เอ็นเอ RNeasy® Plant จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการสกัดอาร์เอ็นเอจากพืชวงศ์พริกไทยเพื่อใช้ในการศึกษาการแสดงออกของยีนและการศึกษาพืชในระดับโมเลกุล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.