การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปนเปื้อนของสารหนูในเล็บคนด้วยตัวแบบล็อกลิเนียร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปนเปื้อนสารหนู(arsenic) ในคนอาจมีอันตรายรุนแรงหลายด้านจนอาจเกิดเป็นโรคหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ การปนเปื้อนมีหลายทางเช่น ผิวหนัง เล็บมือ เล็บเท้า น้ำดื่ม ยา หรือ อาหาร งานวิจัยทางสาธารณสุขและทางระบาดวิทยาจึงมีการตรวจสอบในด้านนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปนเปื้อนสารหนูในคน งานวิจัยนี้สนใจปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปนเปื้อนหรือการสะสมของสารหนูในเล็บคน เนื่องจากการปนเปื้อนสารหนูจากแหล่งต่าง ๆ เกิดการสะสมในเล็บได้ โดยศึกษาปัจจัยจำแนกประเภทและแบบเชิงกลุ่ม (categorical and grouped variables) จำนวน 6 ตัวแปร คือ ตัวแปรอายุ (age) มี 3 ระดับ เพศ (sex) มี 2 ระดับ ปริมาณน้ำดื่ม (drinkwater) มี 5 ระดับ ปริมาณน้ำประกอบอาหาร (cookwater) มี 5 ระดับ ปริมาณสารหนูในน้ำดื่ม (arswater) มี 2 ระดับ และปริมาณสารหนูในเล็บคน (arsnails) มี 2 ระดับจากข้อมูลจริงของการทดลองในมหาวิทยาลัย CMU (http://lib.stst.cmu.edu) การวิเคราะห์ข้อมูลอาศัย Fisher's exact test และตัวแบบล็อกลิเนียร์ โดยใช้โปรแกรม SAS version 9.1 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยปริมาณสารหนูในน้ำดื่มมีผลกระทบต่อการปนเปื้อนหรือการสะสมของสารหนูในเล็บคนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ α = 0.05 ส่วนปัจจัยอายุ ตัวแปรเพศ ปริมาณน้ำดื่ม ปริมาณน้ำประกอบอาหาร ไม่มีผลกระทบต่อการปนเปื้อนของสารหนูในเล็บคนที่ α = 0.05 การวิเคราะห์ด้วยตัวแบบล็อกลิเนียร์พบว่า ตัวแบบ
log(ij) =
+
i arswater +
j arsnails +
ijarsnails*arswater มีภาวะสารูปดีกับข้อมูล (P = 0.999) ดังนั้นอาจนำตัวแบบไปพยากรณ์ค่าคาดหมาย (
ij) จำแนกตามปริมาณสารหนูในเล็บคน ที่ j และปริมาณสารหนูในน้ำดื่ม ที่ i (
ij) ตลอดจนการนำไปพยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นและความเสี่ยง (odds ratio) ที่สอดคล้องกับ (
ij) (
ij) ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.