ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและการกระจายของตัวอ่อนแมลงเกาะหิน ในพื้นที่ซึ่งไม่ถูกรบกวนของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการกระจายของตัวอ่อนแมลงเกาะหินกับคุณภาพน้ำในอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง โดยเลือกลำน้ำ 3 แห่งจากพื้นที่ซึ่งไม่ถูกรบกวนของอุทยานแห่งชาตินี้เป็นตัวแทนในการศึกษา ผลการศึกษาพบตัวอ่อนแมลงเกาะหินจำนวน 15 สกุล จาก 4 วงศ์ โดยพบจำนวนตัวมากที่สุดในสกุล Cryptoperla (476 ตัว, 37.9%) แม่จอกเป็นล้าธารที่พบความหลากหลายของจำนวนสกุลและจำนวนตัวมากที่สุด (13 สกุล, 555 ตัว) การศึกษาสหสัมพันธ์พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างจำนวนตัวของแมลงเกาะหินกับระดับความสูงของพื้นที่ (r = 0.540, P < 0.01) และมีความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างจำนวนตัวกับปัจจัยบางประการของแหล่งน้ำ โดยเฉพาะมีความสัมพันธ์มากที่สุดต่ออุณหภูมิน้ำ (r = -0.481, P < 0.01) การศึกษาคุณภาพทางเคมีของแหล่งน้ำ พบว่าคุณภาพน้ำของลำธารน้ำดังและแม่ปิงอยู่ในระดับที่สะอาด (อุณหภูมิน้ำ = 18.5, 19.1 °C, pH = 7.4, 6.9, conductivity = 37.65, 26.99 µS/cm, BOD5 = 0.6, 0.5 mg/l, NO3-N = 0.13, 0.08 mg/l, NH4-N = 0.91, 0.86 mg/l, O-PO4-P = 0.41, 0.28 mg/l) ในขณะที่คุณภาพน้ำของแม่จอกอยู่ในระดับค่อนข้างสะอาด (อุณหภูมิน้ำ = 20.2 °C, pH = 7.1, conductivity = 44.78 µS/cm, BOD5 = 0.7 mg/l, NO3-N = 0.19 mg/l, NH4-N = 0.75 mg/l, O-PO4-P = 0.56 mg/l) ผลจากการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่าในพื้นที่ซึ่งไม่ถูกรบกวนมีความหลากหลายและจำนวนของตัวอ่อนของแมลงเกาะหินสูง ซึ่งอาจเนื่องจากความเหมาะสมของปัจจัยของแหล่งน้ำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.