การศึกษาผลของไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและหม่อนที่มีต่อการผลิตไหม ภายในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 4 พันธุ์(นางสิ่ว นางตุ่ย หัวจรวด และสำโรง) ที่เลี้ยงด้วยหม่อน 3 พันธุ์ (บุรีรัมย์ 60 สกลนคร 10 และสกลนคร 72) โดยวางแผนการทดลองแบบ 4×3 factorial in RCBD บล็อกละ 4 ซ้ำ พบว่าไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ต่อจำนวนไข่ต่อแม่ เปอร์เซ็นต์การฟักออกของไข่ เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดของหนอนวัยอ่อน เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดของหนอนวัยแก่ น้ำหนักหนอนวัยห้า เปอร์เซ็นต์การทำรัง เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์ น้ำหนักรังสด น้ำหนักเปลือกรัง เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง และความยาวเส้นใยต่อรัง จากการศึกษาครั้งนี้พบไหมพันธุ์นางตุ่ยมีค่าเฉลี่ยเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตโดยรวมสูงกว่าไหมพันธุ์อื่น ส่วนพันธุ์หม่อนพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P<0.01) เพียงลักษณะเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดของวัยอ่อน และน้ำหนักหนอนวัยห้าเท่านั้น นอกจากนี้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่างๆ ที่นำมาใช้ศึกษาในครั้งนี้ พบว่าค่าสหสัมพันธ์มีค่าอยู่ในช่วง -0.81 ถึง 0.93 แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากมีการคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ไหมพื้นบ้านโดยพิจารณาเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้น จะมีผลกระทบต่อลักษณะอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.