ลูกชิด: คุณค่าทางโภชนาการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิดให้มีคุณภาพและปลอดภัย

Main Article Content

พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

บทคัดย่อ

ลูกชิด หรือ ตาว หรือ ต๋าว (Arenga westerhoutii Griff.) เป็นพืชตระกูลปาล์มที่ขึ้นตามธรรมชาติ ประเทศไทยพบมากในจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แพร่ และกาญจนบุรี ลูกชิดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ในลูกชิด 100 กรัม มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 9.77 กรัม โดยเป็นใยอาหารสูงถึง 8.59 กรัม (คิดเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ 6.61 กรัมและใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ 1.98 กรัม) นับว่ามีปริมาณสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพืชตระกูลปาล์มชนิดอื่น นอกจากนี้ลูกชิดยังเป็นแหล่งของแคลเซียมซึ่งมีปริมาณถึง 96.51 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีปริมาณไขมันต่ำ คือ 0.07 กรัม และให้พลังงาน 52 กิโลแคลอรี ในไทยนิยมน้ำลูกชิดมาเชื่อมบริโภคเป็นของหวาน อย่างไรก็ตามปัญหาของผลิตภัณฑ์ลูกชิดคือ ตรวจพบการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูง ซึ่ง
อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้นการใช้สารกลุ่มซัลไฟต์ในระดับที่เหมาะสมและปลอดภัย หรือการใช้สารทดแทนชนิดอื่น เพื่อคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการเก็บรักษาและการจำหน่าย รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ผลิต นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากลูกชิดโดยไม่ใช้สารเคมีในการแปรรูป เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อสร้างความมั่นใจในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จากลูกชิด รวมถึงเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคได้

Article Details

How to Cite
สุทธิลักษณ์ พ. . (2013). ลูกชิด: คุณค่าทางโภชนาการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิดให้มีคุณภาพและปลอดภัย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 508–517. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249145
บท
บทความวิชาการ