การดึงดูดโลหะหนักของทานตะวันที่ปลูกในดินปนเปื้อน สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง

Main Article Content

ดวงกมล คำสอน
ชมพูนุท ไชยรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสะสมโลหะของทานตะวันสายพันธุ์แปซิฟิก 77 ที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนตะกั่ว 550 mg/kg สังกะสี 140 mg/kg และทองแดง 350 mg/kg นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของ (NH4)2SO4 , NH4NO3 และ EDTA ที่มีต่อการสะสมโลหะหนักของพืช ดินที่ใช้ในการวิจัยมาจากจังหวัดนครราชสีมามีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายโดยทานตะวันสายพันธุ์แปซิฟิก 77 มีลักษณะเด่นคือ เมล็ดติดเต็มจานดอก เปอร์เซ็นต์น้ำมันในเมล็ดสูงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน นับจากวันเพาะกล้า ศึกษาปริมาณโลหะหนักในราก, ลำต้น,ใบ และเมล็ดของทานตะวันสายพันธุ์แปซิฟิก 77 ทำการทดลองในกระถางโดยวางแผนการทดลองเป็นแบบ completely randomized design ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อไม่เติมเกลือ ((NH4)2SO4 , NH4NO3 และ EDTA ) ทานตะวันจะสะสมตะกั่ว, ทองแดง และสังกะสี ได้ 29.91, 45.50 และ 100.70 mg/kg ของพืช ตามลำดับ เมื่อเติม NH4NO3 และ (NH4)2SO4 ส่งผลให้พืชสะสมโลหะหนักทุกชนิดได้มากขึ้นโดย NH4NO3 จะส่งผลต่อการสะสมโลหะหนักมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะในเมล็ด พบว่าปริมาณตะกั่ว ในทุกชุดการทดลองสูงเกินค่ามาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนแต่ปริมาณทองแดง และสังกะสีไม่เกินค่ามาตรฐาน

Article Details

How to Cite
คำสอน ด. ., & ไชยรักษ์ ช. . (2013). การดึงดูดโลหะหนักของทานตะวันที่ปลูกในดินปนเปื้อน สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(2), 468–475. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249141
บท
บทความวิจัย