พลาสติกชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลี

Main Article Content

แก้วตา แก้วตาทิพย์

บทคัดย่อ

การสะสมของขยะพลาสติกสังเคราะห์เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ แนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ คือ การผลิตและใช้พลาสติกชีวภาพ กลูเตนข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจอย่างมากในการนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากมีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น ราคาถูก มีปริมาณมาก และย่อยสลายได้ง่ายในธรรมชาติ และเมื่อผสมกลูเตนข้าวสาลีร่วมกับพลาสติไซเซอร์สามารถขึ้นรูปได้ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหมือนการขึ้นรูปพลาสติกทั่วไป โครงสร้างของกลูเตนข้าวสาลีประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด แต่กรดอะมิโนที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างและสมบัติของกลูเตนข้าวสาลี คือ ซีสทีน เนื่องจากซีสทีนประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันไทออลที่สามารถสร้างพันธะไดซัลไฟด์ทั้งภายในและภายนอกสายโซ่ของโปรตีนหรือเกิดการเชื่อมขวางระหว่างสายโซ่โปรตีน โดยการเชื่อมขวางระหว่างสายโซ่โปรตีนจะส่งผลต่อสมบัติของพลาสติกชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลี ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการเชื่อมขวางระหว่างสายโซ่โปรตีน เช่น อุณหภูมิในการขึ้นรูป ชนิดของพลาสติไซเซอร์และชนิดของสารเติมแต่ง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมการเกิดการเชื่อมขวางของสายโซ่โปรตีนให้มีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้พลาสติกชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลีที่มีสมบัติที่ดีและสม่ำเสมอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน

Article Details

How to Cite
แก้วตาทิพย์ แ. . (2013). พลาสติกชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลี. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(2), 309–319. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249115
บท
บทความวิชาการ