โครงสร้างทางกายภาพของระบบดาวคู่ดับเบิลยู เออร์ซา เมเจอร์แอลโอ แอนโดรเมดา

Main Article Content

ธนวัฒน์ รังสูงเนิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการเปลี่ยนคาบวงโคจร องค์ประกอบทางกายภาพและวิวัฒนาการของดาวคู่แอลโอ แอนโดรเมดา โดยท าการสังเกตการณ์ ณ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 จนถึงเดือนมกราคม 2554 ด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร บันทึกข้อมูลด้วยระบบซีซีดีโฟโตเมทรี ผ่านแผ่นกรองแสงความยาวคลื่นสีน้ำเงิน สีเหลืองและสีแดง ตามมาตรฐานระบบยูวีบี ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์หาค่าเวลาที่แสงน้อยที่สุด ผลปรากฏว่าได้ค่าเวลาที่แสงน้อยที่สุด 3 ค่า ได้แก่ ขณะเกิดอุปราคาปฐมภูมิ 2 ครั้งและอุปราคาทุติยภูมิ 1 ครั้ง ทำการวิเคราะห์หาค่าสมการ Ephemeris ใหม่ ผลปรากฏว่าได้ค่าเท่ากับ HJD (Min) = 2453655.45049 + 0.38082E จากนั้นนำข้อมูล Epoch และ HJD (Min) ไปคำนวณเพื่อหาสมการ O-C ทำให้ทราบคาบวงโคจรใหม่ของดาวคู่มีค่าเท่ากับ 0.38082378 วัน มีอัตราการเปลี่ยนคาบวงโคจรเพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.96238 x 10-10 วันต่อรอบ หรือ 0.00189048 วินาทีต่อปีเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพของดาวคู่แอลโอ แอนโดรเมดา ด้วยโปรแกรมวิลสัน-เดวินนี ผลปรากฏว่าได้ชุดพารามิเตอร์ที่ดีที่สุด โดยมีค่าอัตราส่วนมวลเท่ากับ 2.15947 ระบบดาวคู่มีมุมเอียงเท่ากับ 89.450 อุณหภูมิของดาวปฐมภูมิและดาวทุติยภูมิมีค่าเกือบเท่ากัน คือ 5250 และ 5252 เคลวิน ตามล าดับ แสดงให้เห็นว่าดาวคู่แอลโอ แอนโดรเมดา เป็นระบบดาวคู่ชนิด KW ตามแผนภาพเฮิร์ตปรุง – รัสเซล เมื่อน าค่าผลเฉลยที่ดีที่สุดไปสร้างแบบจ าลองของดาวคู่ด้วยโปรแกรม Binary Maker 3.0 ผลปรากฏว่าดาวคู่แอลโอ แอนโดรเมดา เป็นระบบดาวคู่แบบแตะกัน อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ดังกล่าวยังคงแสดงให้เห็นว่าดาวคู่แอลโอ แอนโดรเมดา ยังคงเป็นระบบดาวคู่ประเภทดับเบิลยู เออร์ซาเมเจอร์ เหมือนเดิม แต่เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนคาบวงโคจรที่มีคาบเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการจากเดิมที่ระบบดาวนี้มีคาบวงโคจรที่ลดลง แสดงว่าในระบบดาวอาจมีกระบวนการถ่ายเทมวลระหว่างดาวเกิดขึ้น

Article Details

How to Cite
รังสูงเนิน ธ. . (2013). โครงสร้างทางกายภาพของระบบดาวคู่ดับเบิลยู เออร์ซา เมเจอร์แอลโอ แอนโดรเมดา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(1), 203–212. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249095
บท
บทความวิจัย