การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
- บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ PDF
- มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
- ต้นฉบับต้องพิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษขาวสั้น ขนาด A4 เว้นระยะขอบกระดาษทุกด้าน 1 นิ้ว ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Saraban New ทั้งหมด และพิมพ์ห่างบรรทัดเดียว (Single space) โดยบทความแต่ละเรื่องมีความยาว 10 หน้า (optional)
- บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
- ได้เสนอรายชื่อและข้อมูลการติดต่อของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความ จำนวน 3 รายชื่อ (ถ้ามี)
คำแนะนำผู้แต่ง
ข้อกำหนดในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ มข.
- ประเภทของบทความที่รับพิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ (Type of article) จะต้องเป็นงานที่อยู่ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังไม่เคยถูกเผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาให้เผยแพร่ในวารสาร หนังสืออื่นใด โดยแบ่งประเภทของงาน เป็น 2 ประเภท คือ บทความวิจัย (Research Articles) และ บทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ (Review Articles)
- รายการตรวจเช็คสำหรับการเตรียมบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ (Submission checklist)
- ต้นฉบับบทความ (Manuscript) โปรดเตรียมต้นฉบับบทความตามข้อแนะนำในการเขียนบทความและการเตรียมต้นฉบับ (ข้อ 4)
- จดหมายนำ (Cover letter) โปรดเตรียมจดหมายนำซึ่งเขียนถึงบรรณาธิการและอธิบายโดยสังเขปถึงเหตุผลที่บทความนั้นๆ มีความเหมาะสมในการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ มข.
- ไฟล์รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิ (Figure, Table and Diagram) โปรดเตรียมไฟล์รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิที่มีรายละเอียดของภาพสูง สำหรับกรณีที่รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิในบทความมีความละเอียดไม่สูงพอ
- การส่งต้นฉบับบทความ (Submission) ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับบทความที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบของวารสาร และบันทึกข้อมูลในรูปแบบไฟล์ .doc หรือ .docx และรูปแบบไฟล์ .pdf และส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/index หากมีปัญหาในการใช้งานระบบ กรุณาติดต่อมายัง e-mail address: kku_scijournal@kku.ac.th
- การเขียนบทความและการเตรียมต้นฉบับ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
4.1 ภาษาที่รับตีพิมพ์ สามารถเขียนเป็นภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษล้วนก็ได้ เป็นภาษาวิชาการที่ถูกต้อง และยึดหลักการใช้คำศัพท์หรือการเขียนทับศัพท์ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน
4.2 การเตรียมบทความ ต้นฉบับต้องพิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษขาวสั้น ขนาด A4 เว้นระยะขอบกระดาษทุกด้าน 1 นิ้ว ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Saraban New ทั้งหมด และพิมพ์ห่างบรรทัดเดียว (Single space) โดยบทความแต่ละเรื่องมีความยาว 10 หน้า (optional) จะต้องประกอบด้วย
- สามารถดาวน์โหลดเทมเพลทสำหรับเตรียมบทความได้ที่นี่ : Submission
- ชื่อเรื่องบทความ (Title) จะต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ข้อความที่กระชับ ตัวอักษรหนา ขนาด 20 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ และอักษรตัวแรกของภาษาอังกฤษต้องพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
หมายเหตุ สำหรับบทความทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ขอให้ผู้เขียนหลีกเลี่ยงการใส่สมการในชื่อเรื่อง เนื่องจากจะมีผลต่อการค้นหาและการอ้างอิงของบทความ - ชื่อผู้เขียน (Authors) ใช้ชื่อ-นามสกุลเต็ม ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งหรือคุณวุฒิ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ หากมี 2 คนให้ใช้ “และ/and” คั่น หากมีมากว่า 2 คนขึ้นไป กรณีภาษาไทยให้เว้นวรรค 2 ครั้งคั่น แต่กรณีภาษาอังกฤษให้ใส่ (,) คั่นและเว้นวรรค 1 ครั้งระหว่างแต่ละคน และคนสุดท้ายให้ใช้ “และ/and” คั่น และให้แสดงตัวเลขแบบตัวยก (Superscript) กำกับเพื่อระบุต้นสังกัด และใช้ (*) กำกับ Corresponding Author ซึ่งต้องระบุรายละเอียดของต้นสังกัดและที่อยู่ (จังหวัดและรหัสไปรษณีย์) ของผู้เขียนทุกคน และ E-mail ของ Corresponding Author ไว้บรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 12 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้บทคัดย่อภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ หัวข้อบทคัดย่อ (Abstract) ใช้ตัวอักษรหนา ขนาด 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ พิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ ไม่ควรเกิน 15 บรรทัด และใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 14 จัดขอบซ้ายขวาตรงกัน บรรทัดแรกย่อหน้า 25 ซม.
- คำสำคัญ (Keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวน 3 - 5 คำ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 14 โดยระบุไว้ท้ายบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อ “คำสำคัญ” “Keywords” ให้ใช้ตัวอักษรหนา
- เนื้อความ (Text) พิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ (สำหรับบทความทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีสมการทางคณิตศาสตร์ใช้โปรแกรม words หรือ MathType) โดยใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 14 จัดขอบซ้ายขวาตรงกัน และในการย่อหน้าถ้ามีการย่อหน้าย่อยหลายครั้งให้แต่ละย่อหน้าย่อยห่างกัน 25 ซม. ส่วนที่เป็นหัวข้อจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรหนาชิดขอบกระดาษด้านซ้าย และควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
- บทความวิจัย (Research Articles) ประกอบด้วย
- บทนำ (Introduction)
- วิธีการดำเนินการวิจัย (Research Methodology)
- ผลการวิจัย (Results)
- วิจารณ์ผลการวิจัย (Discussion)
- สรุปผลการวิจัย (Conclusions)
- คำขอบคุณ หรือกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ถ้ามี
- เอกสารอ้างอิง (References) ทั้งภายในเนื้อความและท้ายบทความ
- บทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ (Review Articles) ประกอบด้วย
- บทนำ (Introduction)
- เนื้อความ (Text)
- บทสรุป (Summary)
- คำขอบคุณ หรือกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ถ้ามี
- เอกสารอ้างอิง (References) ทั้งภายในเนื้อความและท้ายบทความ
- รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ (Figure, Table and Diagram) สามารถนำเสนอต่อจากข้อความที่กล่าวถึง หรือนำเสนอภายหลังจากจบหัวข้อได้ ตัวอักษรในรูปภาพ ตาราง และแผนภูมิควรมีความชัดเจน สามารถอ่านได้บนหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รูปภาพและแผนภูมิควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi และต้องระบุหมายเลขลำดับของรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ ในบทความด้วยตัวอักษรปกติ ขนาด 14 โดยใช้คำว่ารูปที่ x หรือแผนภูมิที่ x และคำอธิบายสั้นๆ ไว้ใต้รูปภาพหรือแผนภูมิ และตารางที่ x และคำอธิบายสั้นๆ ไว้ด้านบนของตาราง โดยใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 14 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ระบบหน่วยที่ใช้ ใช้ระบบหน่วยเมตริกซ์ หรือ SI โดยจะใช้รูปแบบการเขียนแบบเต็มหรือแบบย่ออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ต้องให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งบทความ
4.3 บทคัดย่อรูปแบบกราฟิก (ถ้ามี) ผู้เขียนสามารถส่งบทคัดย่อรูปแบบกราฟิกมาพร้อมกับต้นฉบับบทความ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเนื้อหาหลักของบทความ และช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความที่อยู่ในความสนใจได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งบทคัดย่อรูปแบบกราฟิก คือ การแสดงภาพรวมของงานวิจัยในบทความที่สำคัญ และควรเป็นตัวแทนของเนื้อหาทั้งหมดของบทความ นำเสนอให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ทั้งนี้บทคัดย่อรูปแบบกราฟิกควรมีความละเอียดของรูปภาพ อย่างน้อย 300 dpi
- การพิจารณาและประเมินผลบทความ (Peer review) วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ใช้ประเภทการพิจารณาผลงานสำหรับตีพิมพ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิในรูปแบบ Double-blinded peer-review ให้เจ้าของบทความเสนอชื่อ ที่อยู่ และอีเมลล์ของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ จำนวน 3 คน มาพร้อมกับต้นฉบับบทความ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการอาจจะพิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เจ้าของบทความแนะนำมาหรือไม่ก็ได้ ต้นฉบับบทความที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นจะได้รับการอ่าน และประเมินผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้นๆ อย่างน้อย 3 คนขึ้นไปต่อเรื่อง และกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบผลว่า ต้องแก้ไขก่อนการตีพิมพ์ หรือตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข หรือไม่ผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ ซึ่งจะจัดส่งผลการพิจารณาคืนให้ผู้เขียนทาง E-mail address ของผู้เขียนบทความ และกองบรรณาธิการวารสารจะส่งต้นฉบับบทความให้ผู้เขียนตรวจพิสูจน์อักษรในลำดับสุดท้าย (Final proof) ทั้งนี้จะต้องไม่มีการแก้ไขรายละเอียดใดๆ ในส่วนของเนื้อหาและชื่อเจ้าของบทความ และหากไม่มีการติดต่อกลับของผู้เขียนภายในระยะเวลาที่กำหนด กองบรรณาธิการถือว่าบทความนั้นถูกต้องและครบถ้วนแล้ว
- การส่งบทความที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการแก้ไขแล้ว (Revised submission) ผู้เขียนสามารถส่งบทความที่ได้รับการพิจารณาและได้รับการแก้ไขแล้ว เพื่อรับการพิจารณาโดยกองบรรณาธิการผ่านทางระบบส่งบทความบนเว็บไซต์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/index
- การเขียนเอกสารอ้างอิง (References) หรือบรรณานุกรม (Bibliography)
- การอ้างอิงในเนื้อความ จะใช้ระบบ ชื่อและปี โดยจะวงเล็บชื่อผู้แต่ง (สำหรับคนไทย) หรือชื่อสกุล (สำหรับคนต่างชาติ) หรือชื่อนิติบุคคลที่จัดทำเอกสาร และระบุปีที่พิมพ์ของเอกสารที่อ้างอิง เช่น สมศักดิ์และสมศรี (2535) รายงานว่า... หรือ ... (สมศักดิ์และสมศรี, 2535) กรณีมีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป ให้ใช้คำว่า “และคณะ” กรณีภาษาไทย หรือ “et al.” กรณีภาษาอังกฤษแทน หากมีอ้างอิงจากหลายรายงานในหัวข้อเดียวกัน ให้ใช้ ... (สมศักดิ์, 2535; สมศรี, 2540; Williams, 2009) โดยเรียงภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ และเรียงตามปีที่พิมพ์
- การอ้างอิงท้ายเรื่อง ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด 14 เรียงลำดับภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ และเรียงตามตัวอักษรและสระ กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปีที่พิมพ์เอกสาร มีรูปแบบการเขียนสำหรับวารสารวิทยาศาสตร์ มข. ดังนี้
1. ตำรา (Textbook) หรือหนังสือ
ให้ใช้ ชื่อสกุลของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี พ.ศ.ที่ตีพิมพ์). ชื่อหนังสือ. (พิมพ์ครั้งที่). เมืองที่พิมพ์: โรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์. เลขหน้าเริ่มต้น–หน้าสุดท้ายที่อ้างอิง.
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อรอง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี ค.ศ.ที่ตีพิมพ์). แทน
เช่น
ลัดดา วงศ์รัตน์. (2537). คู่มือการเลี้ยงแพลงก์ตอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 103 – 105.
Johnson, E.A. and Schroeder, W.A. (1995). Microbial carotenoids. In Advances Biochemical Engineering and Biotechnology. Heidelberg: Springer-Verlag. pp. 119-178.
2. วารสาร (Journal)
ให้ใช้ ชื่อสกุลของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี พ.ศ.ที่ตีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. เล่มที่ (ฉบับที่): เลขหน้าเริ่มต้น– หน้าสุดท้ายที่อ้างอิง. เลข DOI (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ชื่อสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อรอง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี ค.ศ. ที่ตีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร (แบบเต็ม) Volume (Issue): เลขหน้าเริ่มต้น–หน้าสุดท้ายที่อ้างอิง. เลข DOI (ถ้ามี)
เช่น
ธัญนาฏ ญาณพิบูลย์, สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์ และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์ (2563). ความสามารถในการใช้ความรู้และนวัตกรรมกับประเด็นที่โดดเด่นขององค์กรใหม่ในธุรกิจภาคการเกษตร.จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ 42(2): 54-72. doi:10.14456/cbsr.2020.3.
Kiho, T., Morimoto, H., Kobayashi, T., Usui, S., Ukai, S., Aizawa, K. and Inakuma, T. (2000). Effect of a polysaccharide (TAP) from the fruiting bodies of Tremella aurantia on glucose metabolism in mouse liver. Biosci Biotechnol Biochem. 64(2): 417–419. (กรณีชื่อวารสารแบบย่อ)
Turner, J.T. (2004). The importance of small planktonic copepods and their roles in pelagic marine food webs. Zoological Studies 43(2): 255-266. (กรณีชื่อวารสารแบบเต็ม)
3. บทความในงานประชุมวิชาการ(Proceedings) หรือเอกสาร รายงานการวิจัย
ให้ใช้ ชื่อสกุลของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี พ.ศ.ที่ตีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน: ชื่องานประชุมวิชาการหรือชื่อรายงานการวิจัย. ชื่อผู้จัดงานประชุมหรือชื่อผู้จัดทำโครงการวิจัย, จังหวัด. เลขหน้าเริ่มต้น–หน้าสุดท้ายที่อ้างอิง.
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ชื่อสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อรอง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี ค.ศ.ที่ตีพิมพ์). แทน
เช่น
พรรณา วันซวง และละออศรี เสนาะเมือง. (2549). ความหลากชนิดของโรติเฟอร์คลาโดเซอรา และโคพีพอดในแหล่งน้ำชั่วคราวในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. ใน: รายงานการวิจัยในโครงการ BRT 2549. วิสุทธิ์ ใบไม้ และรังสิมา คุ้มหอม (บรรณาธิการ). บริษัทจิรวัฒน์เอ็กเพรส จำกัด, กรุงเทพฯ. 105-118.
Pookpakdi, A. (1992). Soybean production under saturated soil condition in Thailand, In C. George Kuo (eds.). In: Adaptation of food crops to temperature and water stress proceeding of an international symposium Taiwan 13-18 August 1992. Asian Vegetable Research and Development Center, Taiwan. 479-485.
4. วิทยานิพนธ์ (Thesis)
ให้ใช้ ชื่อสกุลของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี พ.ศ.ที่ตีพิมพ์). ชื่อบทความ. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, ชื่อมหาวิทยาลัย. จังหวัด. จำนวนหน้า.
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ชื่อสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อรอง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี ค.ศ.ที่ตีพิมพ์). แทน
เช่น
ปิยวรรณ ศิริสวัสดิ์. (2552) การศึกษาการติดสีของครามบนเส้นฝ้ายที่เคลือบด้วยไคโตซานจากเปลือกกุ้งก้ามกราม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร: 55 หน้า
5. แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ให้ใช้ ชื่อสกุลของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี พ.ศ.ที่ตีพิมพ์). ชื่อบทความ. แหล่งข้อมูล: URL ของเว็บไซต์ที่อ้างอิง
ข้อมูล. ค้นเมื่อวันที่ เดือน ปี พ.ศ..
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ชื่อสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. อักษรย่อชื่อรอง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง. (ตัวเลข ปี ค.ศ.ที่ตีพิมพ์). แทน
เช่น
เอกลักษณ์ จันเทร์มะ และ อ่อนจันทร์ โครตพงษ์. (2010). ผีเสื้อกระพือปีก. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, แหล่งข้อมูล: http://www. deqp.go.th/website/20/index.php?option=com_content&view=article&id=4160%3A2010-09-30-03-37-43&catid=50&Itemid=74&lang=th. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554.
6. การอ้างอิงเอกสารกรณีรอการตีพิมพ์ ให้ระบุข้อมูลของเอกสารให้มากที่สุด และใช้วงเล็บคำว่า “(ระหว่าง ตีพิมพ์)” หรือ “(in press)” ในกรณีที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามลำดับ โดยวงเล็บต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้น
- สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงสำหรับวารสารวิทยาศาสตร์ มข. ที่ใช้ร่วมกับโปรแกรม Zotero ได้ที่นี่ : References
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ มข. จะต้องเป็นบทความที่ไม่ลอกเลียนบทความอื่นที่ตีพิมพ์แล้ว และเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน ซึ่งลิขสิทธิ์ของบทความต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ มข. จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าได้ระบุการอ้างอิง (Citation) เป็นลายลักษณ์อักษร และความรับผิดชอบ เนื้อหาของต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิทยาศาสตร์ มข. นั้น จะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้จะไม่รวมความผิดพลาดที่เกิดจากเทคนิคการพิมพ์