จริยธรรมของการตีพิมพ์ผลงาน 

เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ และจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) วารสารวิทยาศาสตร์ มข. จึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์ ดังนี้

1. บทบาทและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  • ดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้เขียน
  • ปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  • รับรองคุณภาพผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
  • สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
  • ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
  • เต็มใจแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดถอนบทความ และการขออภัยหากจำเป็น

2. บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน

  • ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นยังไม่เคยได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  • ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง รวมทั้งต้องทำเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความด้วย
  • ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  • ผู้เขียนทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
  • ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่นอีกหลังจากได้รับการตีพิมพ์กับวารสารวิทยาศาสตร์ มข. แล้ว

  • หากมีการวิจัยในมนุษย์ หรือสัตว์ทดลอง ผู้เขียนต้องแนบหนังสือรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองตามแต่กรณี และต้องระบุรหัสหรือหมายเลขการรับรองลงในบทความในส่วนของวิธีการวิจัย/ขั้นตอนการทดลองด้วย

3. บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  • ต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน
  • ต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ประเมิน
  • ต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานทางวิชาการที่ประเมินอย่างแท้จริง
  • หากตรวจสอบพบว่าบทความที่ประเมินมีการคัดลอกผลงานชิ้นอื่นๆ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
  • ต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาที่กำหนด และไม่เปิดเผยข้อมูลบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้
    สามารถศึกษาข้อมูลจริยธรรมของการตีพิมพ์ผลงานเพิ่มเติมได้ที่ Publication Ethics

 

การเปิดเผยการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์

ในกรณีที่ผลงานอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์ ผู้เขียนควรระบุข้อความที่แสดงถึงการเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์อย่างชัดเจนในตอนท้ายของบทความ ในกรณีที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์ ผู้เขียนควรระบุในตอนท้ายของบทความว่าผลงานดังกล่าวไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์