ผลของอุณหภูมิต่อการเก็บรักษาอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมแล้ว จากอาหารเลี้ยงเชื้อหมดอายุและไม่หมดอายุ ต่อการเจริญของจุลินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางจุลชีววิทยาที่มีผลจากการจัดเก็บอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมแล้วจากอาหารเลี้ยงเชื้อหมดอายุและไม่หมดอายุ จำนวน 18 ตัวอย่าง โดยเก็บอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมแล้วไว้ที่สภาวะอุณหภูมิห้องและห้องเย็น ระยะเวลา 90 วัน ประเมินผลการทดลองจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์ และการทดสอบประสิทธิภาพของอาหารเลี้ยงเชื้อตามวิธีทดสอบมาตรฐาน ISO 11133:2014 ประเมินแบบเชิงคุณภาพ (qualitative) และเชิงปริมาณ (quantitative) โดยใช้จุลินทรีย์ทดสอบ (Test organisms) ที่เป็นจุลินทรีย์เป้าหมาย (Target microorganisms) และจุลินทรีย์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย (Non-target microorganisms) ผลการทดลองพบว่า สภาวะอุณหภูมิห้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.79 ± 0.29 องศาเซลเซียส ค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 56.11 ± 1.15% RH และสภาวะห้องเย็น อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.33 ± 0.15 องศาเซลเซียส ค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 89.46 ± 1.29% RH เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานพบว่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์เกินเกณฑ์มาตรฐาน และมีความสัมพันธ์กันกับปริมาณและชนิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ซึ่งผลการตรวจสอบพบการปนเปื้อนเชื้อรามากที่สุด รองลงมาเป็นแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวก ในกรณีที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงเกินไปคือ > 70% RH จะมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของเชื้อรา ผลการทดสอบคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อตามวิธีทดสอบของ ISO 11133:2014 ประเภทอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว Nutrient broth (NB) มีค่าคะแนนการเจริญของเชื้อเท่ากับ 2 คะแนน แสดงว่ามีเชื้อเจริญเหมาะสมต่อการนำไปใช้ อาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว Lauryl tryptose broth (LSTB) และ Brilliant green lactose bile broth (BGLB) มีค่าคะแนนการเจริญของเชื้อเท่ากับ 2 คะแนน แสดงว่ามีเชื้อเจริญ และเกิดก๊าซ 1/3 ของหลอดดักก๊าซ เหมาะสมกับการนำไปใช้ อาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง Plate count agar (PCA) มีค่าเฉลี่ย Productivity ratio (PR) > 0.7 เหมาะสมกับการนำไปใช้ อาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง Eosin methylene blue agar (EMB) และ MacConkey agar (MCA) มีค่าคะแนนการเจริญของเชื้อเท่ากับ 2 คะแนน แสดงว่าเชื้อเจริญขึ้นเต็มเส้น เหมาะสมกับการนำไปใช้ สรุปได้ว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่หมดอายุและหมดอายุในสภาวะอุณหภูมิห้องและห้องเย็นยังคงมีคุณภาพและประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน ทำให้ห้องปฏิบัติการเลือกเก็บรักษาอาหารเลี้ยงเชื้อได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของห้องปฏิบัติการนั้นๆ ที่สำคัญอาหารเลี้ยงเชื้อที่หมดอายุยังคงมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้งานได้ ทำให้ห้องปฏิบัติการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทนิฐ หงส์ดุสิต. (2550). การประกันคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบทางจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ : สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 70 - 72.
นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 85 – 87.
รวิวรรณ อาจสำอาง. (2549). การควบคุมคุณภาพของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 54(172): 23 - 25.
ศิวิมล นันสุนานนท์. (2562). เอกสารประกอบการฝึกอบรมการใช้และการควบคุมคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ตามมาตรฐาน ISO 11133:2014. กรุงเทพฯ: ศูนย์ฝึกอบรมและบริการที่ปรึกษา บริษัท ห้องปฏิบัติการ กลาง (ประเทศไทย) จำกัด.
สุนทรี สวนทับทิม และพรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2563). การตรวจวัดสภาพแวดล้อมและการสำรวจชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในอากาศของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28(8): 1463 - 1472.
APHA. (2022). Standard methods for the examination of water and wastewater. 24th edition. New York: American Public Health Association. 1072 - 1073.
International Organization for Standardization. (2014). ISO 11133:2014 (E). Microbiology of food, animal feed and water. Preparation, production, storage and performance testing of culture media.
Janghoo, Seo. (2012). Influence of Moisture on Mold Growth in Building Materials. Air-Conditioning and Refrigeration Engineering 24(12): 852 - 857. doi: 10.6110/KJACR.2012.24.12.852.
Lax, S., Cardona, C., Zhao, D., Winton, V.J., Goodney, G., Gao, P., Gottel, N., Hartmann, E.M., Henry, C., Thomas, P.M., Kelley, S.K., Stephens, B. and Gilbert, J.A. (2019). Microbial and metabolic succession on common building materials under high humidity conditions. Nature Communications 10(1): 1 - 12. doi: 10.1038/S41467-019-09764-Z.