แอปพลิเคชันการฝึกหายใจเพื่อเพิ่มสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงงานวิจัยนี้ได้นำเสนอแอปพลิเคชันมือถือในการฝึกหายใจเพื่อเพิ่มสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) บนระบบปฏิบัติการ Android เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและลดอาการเหนื่อยหอบ เนื่องจากในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดโรคระบบทางเดินหายใจหลายชนิด ซึ่งพบว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความรุนแรงมากกว่าโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ส่งผลให้การตระหนักถึงความสำคัญกับการดูแลสุขภาพปอดที่นิยมคือ ฝึกหายใจ จากการศึกษางานทดลองกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการฝึกหายใจแบบห่อริมฝีปาก (Pursed lip breathing) พบว่าสามารถฟื้นฟูสมรรถนะปอดของผู้ป่วยได้ดีเมื่อเทียบกับก่อนฝึก นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ในการฝึกการหายใจซึ่งอาจมีราคาที่สูง โดยในแอปพลิเคชันมีการจำลองการหายใจเพื่อให้ผู้ใช้งานปฏิบัติตาม บันทึกประวัติการฝึกหายใจและการประเมินระดับความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อเป็นการวัดสมรรถภาพปอดก่อนและหลังฝึกหายใจ โดยและวัดค่า Forced expiratory volume in one second (FEV1) โดยใช้เครื่องสไปโรมิเตอร์ เพื่อประเมินผลความรุนแรงของการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ใช้งานสามารถทราบระดับความรุนแรงของการอุดกั้นของทางเดินหายใจ สามารถบันทึกประวัติการประเมินระดับความรุนแรงแต่ละครั้ง จากการทดลองส่วนการฝึกหายใจแบบห่อริมฝีปาก (Pursed lip breathing) โดยมีผู้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพศชายและมีช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีจากโรงพยาบาลมะการักษ์ เข้าร่วมฝึกหายใจด้วยแอปพลิเคชันเพื่อติดตามผลเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่าสามารถบรรเทาอาการเหนื่อยหอบและสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ใช้งานได้ และมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.73 หรือระดับดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติศักดิ์ ธานีทรัพย์. (2560). เรียนรู้การฝึกหายใจ เรื่องง่ายๆ ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด. เวชบันทึกศิริราช 10(2): 122 – 125.
กิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2564). “ฟิตปอด-ฝึกหายใจ” ช่วยลดความเสี่ยง COVID-19 ได้!. แหล่งข้อมูล: https://tu.ac.th/thammasat-100664-fph-expert-talk-breathing-exercise. ค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566.
จุฬาลักษณ์ โรจนวิภาต. (2559). ผลของโปรแกรมรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซับซ้อน โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน. ลำปางเวชสาร 37(2): 33 – 45.
ธาดา วินทะไชย และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30(2): 124 – 135.
นงคราญ ใจเพียร. (2555). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/16057. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566.
นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร. (ม.ป.ป.). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/COPD.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566.
อัชฌาณัฐ วังโสม. (2559). การจัดการอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 27(1): 2 – 12.
อโนมา ศรีแสง และชนนรรจ์ วังแสง. (2561). การประเมินสมรรถภาพของหัวใจและปอดการทดสอบการเดิน 6 นาที. วารสารเวชบันทึกศิริราช 11(1): 57 – 64.
ศุภวิชญ์ อิทธินิรันดร. (2562). ผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
Alharbey, R. and Chatterjee, S. (2019). An mHealth Assistive System "MyLung" to Empower Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease: Design Science Research. JMIR formative research 3(1): e12489. doi: 10.2196/12489.
Black, R. (2019). Pursed Lip Breathing. Amichigan Medicine University, 1. Source: https://www.lung.org/lung-health-diseases/wellness/breathing-exercises. Retrieved from 15 December 2023.
Kirsten, D.K., Taube, C., Lehnigk, B., Jörres, R.A. and Magnussen, H. (1998). Exercise training improves recovery in patients with COPD after an acute exacerbation. Respiratory Medicine 92(10): 1191 - 1198. doi: 10.1016/S0954-6111(98)90420-6.
Shafiq,M., Mehmood, Z., Khan, E., Fatima, A., Tariq, I. and Ramzan, T. (2022). Imposed pursed lips breathing improves pulmonary function tests and breathing pattern in COPD patients. Rawal Medical Journal 47(2) 311 - 314.
Ubolnuar, N., Tantisuwat, A., Thaveeratitham, P., Lertmaharit, S., Kruapanich, C. and Mathiyakom, W. (2019). Effects of Breathing Exercises in Patients With Chronic Obstructive Pulmonary Disease: Systematic Review and Meta-Analysis. Annals of rehabilitation medicine 43(4): 509 - 523. doi: 10.5535/arm.2019. 43.4.509.
Yankai, A., Leelarungrayub, J., Kanthain, R. and Laskin, J.J. (2021). Preliminary Study: Immediate Effect of the Slow Deep Breathing Exercise and Sustained Maximal Inspiration with Volume-Oriented Incentive Spirometry on the Diffusing Lung Capacity in Healthy Young Participants. Trends in Sciences 18(21): 346. doi: 10.48048/tis.2021.346.