การพัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ประเมินความเหมาะสมของหนังสือเพื่อการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย 3) ประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น และ 4) ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน ในบทความนี้ผู้วิจัยได้นำเสนองานวิจัยในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับ 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสำหรับเด็กเล็ก เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินความพร้อมใช้งานของหนังสือและแอปพลิเคชันแล้ว ผู้วิจัยจึงนำแอปพลิเคชันนี้ไปให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กปฐมวัยจำนวน 40 คน ทดลองใช้งานและประเมินผลความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักคือ (1) หนังสือเพื่อการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับที่มีเออาร์มาร์คเกอร์ และ (2) แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับการตรวจจับมาร์คเกอร์และแสดงผลออกมาผ่านทางสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตเป็นภาพ 3 มิติ พร้อมเสียงอ่านพยัญชนะและคำศัพท์โดยผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหนังสือเพื่อการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีและดีมากทุกรายการ (Mean = 4.53 S.D. = 0.50) 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีและดีมากทุกรายการเช่นกัน (Mean = 4.59 S.D. = 0.48) และ 4) ผลประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย พบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีมากทุกรายการ (Mean = 2.82 S.D. = 0.29) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนการเรียนรู้พยัญชนะและคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับเด็กปฐมวัย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมองค์การระหว่างประเทศ. (2565). บัวแก้วไขปริศนาสหประชาชาติ. แหล่งข้อมูล: https://image.mfa.go.th/mfa/0/OznAy3tii2/UNBook.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กาญจนา พันธ์โยธี. (2542). แบบการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามรูปแบบของเฟลเดอร์และโซโลแมน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เกยูร วงศ์ก้อม. (2564). การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม. วารสารวิทยาลัยราชสุดา 17(2): 49 – 63.
เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และอภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 4(1): 23 – 28.
คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. แหล่งข้อมูล: http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/2126/1/14บทบาทครูในศตวรรษที่%2021.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567.
ชนกันต์ วงษ์สันต์, ภัทรพล มหาขันธ์ และวีณา ซุ้มบัณฑิต. (2565). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 (2): 1 - 12.
นิพนธ์ บริเวธานันท์. (2552). Augmented Reality เมื่อโลกความจริงผนวกเข้ากับโลกเสมือน. แหล่งข้อมูล: http://www.ebooks.in.th/30348/Augmented_Reality. ค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567.
พฤทธิ์ พุฒจร. (2561). การพัฒนาสื่อการสอนด้วย AR (Augmented Reality). แหล่งข้อมูล: https://spidyhero.wordpress.com/2018/09/26/arineducation/. ค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567.
เฟื่องฟ้า พันธุราษฎร์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้บัตรภาพ AR. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย 3(2): 23 – 29.
มนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์. (2564). การพัฒนาระบบสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอักษร A-Z. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 7(3): 109 – 120.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนเด็กวัยอนุบาล 3–6 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
วินัย สะมะอูน. (2556) ความสำคัญของภาษาอาหรับ. แหล่งข้อมูล: www.islamore.com/view/459. ค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567.
วิรัตน์ เหมรินี, รัชตา ธรรมเจริญ และปรีดา เบ็ญคาร. (2559). ปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา. 347 – 359.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อัฮมัดซากี มาหามะ. (2551). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอาหรับในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี. 145 หน้า.
เอ็นจีไทย. (2565). Southern Exposure : สามจังหวัดชายแดนใต้ ในทัศนะของผม. แหล่งข้อมูล: https://ngthai.com/photography/45359/southern-exposure/. ค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567.
Best, J.W. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall.
Houston, B. (2020). What Is Augmented Reality (AR)? A Practical Overview. Source: https://www.threekit.com/blog/what-is-augmented-reality. Retrieved from 8 February 2023.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Teselko, O. (2023). 5 types of AR to implement in eCommerce + use case. Source: https://www.storyblok.com/mp/types-of-ar. Retrieved from 3 April 2023.