ผลของเกลือ น้ำตาลทราย และน้ำผึ้ง ที่มีต่อคุณภาพของมะกอกน้ำดอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณเกลือร้อยละ 10 12 และ 14 โดยน้ำหนักน้ำ ร่วมกับการใช้น้ำตาลทรายร้อยละ 3 6 และ 9 โดยน้ำหนักน้ำ ในการทำมะกอกน้ำดอง พบว่ามะกอกน้ำดองที่ใช้เกลือร้อยละ 12 โดยน้ำหนักน้ำ ร่วมกับการใช้น้ำตาลที่ร้อยละ 6 โดยน้ำหนักน้ำ ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสมากที่สุดทางด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวม เท่ากับ 8.3 ± 0.14 8.1 ± 0.14 8.0 ± 0.13 7.9 ± 0.14 8.0 ± 0.14 และ 8.1 ± 0.14 ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบทางเคมีกายภาพ พบว่าปริมาณของเกลือและน้ำตาลทรายที่มากขึ้น ส่งผลให้มะกอกน้ำมีสีคล้ำขึ้น (L*) ลดลง ขณะที่สีเขียว (a*) และสีเหลือง (b*) จะมีค่าเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับค่า Chroma และ Hue ที่สีแดงลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ายิ่งใช้ปริมาณของเกลือและน้ำตาลทรายมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาตรของผลมะกอกน้ำ แรงกด (N) และค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ลดลง แต่ปริมาณกรดทั้งหมดเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความชื้นลดลง แต่มีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (Total soluble solid; oBrix) เพิ่มขึ้น (p ≤ 0.05) เมื่อเก็บรักษามะกอกน้ำดอง ที่อุณหภูมิ 0 - 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน โดยเปรียบเทียบระหว่างการเก็บในน้ำผึ้งและเก็บโดยไม่ใช้น้ำผึ้ง พบว่าปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด และปริมาณแลคติคแอซิดแบคทีเรียของมะกอกน้ำดองที่เก็บในน้ำผึ้งจะมีอัตราเจริญเติบโตที่ลดลงมากกว่ามะกอกน้ำที่เก็บโดยไม่ใช้น้ำผึ้ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธารหทัย มาลาเวช. (2556). การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียแลคติคเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อในการผลิตผักดองท้องถิ่นภาคใต้. รายงานวิจัยมหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.
นรินทร์ เจริญพันธ์ และรัชนี พุทธา. (2563). สูตรที่เหมาะสมของการผลิตแก่นตะวันดองและกิมฉิจากแก่นตะวัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 28(7): 1202 - 1215.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2563). Lactic acid bacteria / แบคทีเรียผลิตกรดแล็กทิก. แหล่งข้อมูล: www.foodnetworksolution.com. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563.
ภัทรวดี ศรีคุณ. (2560). โครงการตรวจสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำผึ้งชันโรง. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.). รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
มนตรา ศรีษะแย้ม. (2553). สมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์และการต้านออกซิเดชันของน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์ = Antimicrobial and Antioxidant Properties of Honey from Apis mellifera. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2564). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลไม้ดอง. มผช. 160/2546. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.
สุนัน ปานสาคร, จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, ศุภณัฐ พริกบุญจันทร์ และอาทิพัฒน์ ศรีชุมพล. (2564). ผลของความเข้มข้นสารละลายออสโมติกต่อการถ่ายเทมวลสารและคุณภาพของเมล่อนหลังการออสโมซิส. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 19(2): 132 – 134.
สุภางค์ เรืองฉาย. (2564). ผลิตภัณฑ์เมล็ดกระถินดองน้ำเกลือ. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ. 1 - 11.
สุวัฒน์ ธีรพงษ์ธนากร, แก้ว อุดมศิริชาคร และบุญเทียม เลิศศุภวิทย์นภา. (2537). อิทธิพลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงและปริมาณคลอโรฟิลล์ในข้าว. รายงานวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
อมรรัตน์ ถนนแก้ว, วิไลลักษณ์ กล่อมพงษ์, ปาจรีย์ เรืองกลับ และสุทธิรักษ์ เพชรรัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีและชีวภาพของผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า. รายงานวิจัยงบประมาณเงินแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
AOAC International. (1990). Bacteriological Analytical Manual. Gaitherburg, MD., USA.
AOAC International. (2000). Chemical Analytical Manual. Gaitherburg, MD., USA.
McLoone, P., Warnock, M. and Fyfe, L. (2016). Honey: A realistic antimicrobial for disorders of the skin. Journal of Microbiology, Immunology and Infection 49(2): 161 - 167.