พันธุศาสตร์ระดับเซลล์ของปลาช่อนพม่าจุดส้ม (Channa pulchra Britz, 2007)

Main Article Content

ธนาดา ไรวินทร์ เหมือยพรม
อลงกลด แทนออมทอง
วีระยุทธ สุภิวงค์

บทคัดย่อ

รายงานครั้งแรกของการศึกษาพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ปลาช่อนพม่าจุดส้ม (Channa pulchra Britz, 2007) ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ใช้ตัวอย่างปลาเพศผู้ 5 ตัว และเพศเมีย 5 ตัว เตรียมโครโมโซมด้วยวิธีตรงจากไตโดยการฉีดโคลซินซีน ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาเพื่อศึกษาจำนวน รูปร่าง และขนาด และย้อมแถบสีเอ็นโออาร์ (NOR-banding) เพื่อศึกษาตำแหน่งปรากฏของเอ็นโออาร์บนโครโมโซม ผลการศึกษาพบว่าปลาช่อนพม่าจุดส้มมีโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 48 แท่ง จำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 94 ลักษณะโครโมโซมประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 16 แท่งซับเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 22  เมทาเซนทริกขนาดกลาง 2 แท่ง  ซับเมทาเซนทริกขนาดกลาง 6 แท่ง และเทโลเซนทริกขนาดเล็ก 2 แท่ง พบโครโมโซมเครื่องหมายที่มีตำแหน่งเอ็นโออาร์อยู่บริเวณเทโลเมียร์ของแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 14 แท่ง ไม่มีความแตกต่างของโครโมโซมระหว่างปลาเพศผู้และปลาเพศเมียมีสูตรแคริโอไทป์ คือ 2n (48) = Lm16 + Lsm22 + Mm2 + Msm6 + St2 ผลจาการในครั้งนี้เป็นประโยชน์ในด้านอนุกรมวิธาน การศึกษาวิวัฒนาการของโครโมโซม รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาพันธุศาสตร์ขั้นสูง การปรับปรุงพันธุ์เพื่อการค้าและการอนุรักษ์ต่อไป

Article Details

How to Cite
เหมือยพรม ธ. ไ. ., แทนออมทอง อ., & สุภิวงค์ ว. . (2024). พันธุศาสตร์ระดับเซลล์ของปลาช่อนพม่าจุดส้ม (Channa pulchra Britz, 2007). วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 52(1), 1–8. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2024.1
บท
บทความวิจัย

References

กันยารัตน์ ไชยสุต. (2532). เซลล์พันธุศาสตร์และเซลล์อนุกรมวิธานของพืชสกุล Zephyranthes. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต วิทยานนท์. (2544). ปลาน้ำจืดไทย 1. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ชวิน ตันพิทยคุปต์ และชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน. (2556). CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน. Aquarium Biz 4(42): 106.

ธวัช ดอนสกุล และวิเชียร มากตุ่น. (2534). การศึกษาโครโมโซมของปลาช่อน ช่อนงูเห่า ชะโด กระสง และปลาก้างที่พบในประเทศไทย. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 29: รายงานผลการวิจัย สาขาสัตว์ สัตวแพทยศาสตร์ ประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 561 - 574.

อลงกลด แทนออมทอง. (2554). พันธุศาสตร์ระดับเซลล์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Britz, R. (2007). Channa ornatipinnis and C. pulchra, two new species of dwarf snakeheads from Myanmar (Teleostei: Channidae). Ichthyological Exploration of Freshwaters 18(4): 335 - 344.

Cioffi, M.B., Bertollo, L.A.C., Villa, M.A., Oliveira, E.A., Tanomtong, A., Yano, C.F., Supiwong, W. and Chaveerach, A. (2015). Genomic Organization of Repetitive DNA Elements and Its Implications for the Chromosomal Evolution of Channid Fishes (Actinopterygii, Perciformes). PLoS ONE 10(6): e0130199.

Khakhong, S., Supiwong, W., Tanomtong, A., Sriuttha, M., Jearranaiprepame, P., Soemphol, W. and Jiwyam, W. (2014). A First Chromosomal Characterization of NORs in Splendid Snakehead Fish, Channa lucius (Perciformes, Channidae). Cytologia 79(2): 133 - 139.

Kumar, R., Baisvar, V.S., Kushwaha, B., Waikhom, G. and Singh, M. (2019). Evolutionary analysis of genus Channa based on karyological and 16S rRNA sequence data. Journal of Genetics 98(2): 112.

Sarasan, T., Jantarat, S., Supiwong, W., Yeesin, P., Srisamoot, N. and Tanomtong, A. (2018). Chromosomal Analysis of Two Snakehead Fishes, Channa marulius (Hamilton, 1822) and C. marulioides (Bleeker, 1851) (Perciformes: Channidae) in Thailand. Cytologia 83(1): 115 - 121.

Sharma, O.P., Tripathi, N.K. and Sharma, K.K. (2002). Some Aspects of Chromosome Structure and Functions. New Delhi: Narosa Publishing House.