ไหมย้อมครามธรรมชาติ

Main Article Content

อนุรัตน์ สายทอง

บทคัดย่อ

สีคราม (indican) ในพืชหลายชนิดจากเขตร้อนถูกสลายด้วยน้ำ กลายเป็นสีคราม (indigo blue) ที่ไม่ละลายน้ำ ต้องเตรียมน้ำย้อมคราม ด้วยการรีดิวซ์ indigo blue ให้อยู่ในรูปลิวโค (leuco form) หรือ indigo white ตัวรีติวซ์ที่ใช้ ทุกชนิดจะทํางานในภาวะด่าง เช่น การเตรียมน้ำย้อมครามระดับอุตสาหกรรมใช้โซเดียมไดไทโอไนต์ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ แต่ผลผลิตแทรกซ้อนเป็นสารพิษ จึงเปลี่ยนไปใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ ภายใต้บรรยากาศของก๊าซไนโตรเจน ใช้โพแทสเซียมนิกเกิลไซยาไนต์เป็นคะตะไลส์ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อีกวิธีหนึ่งเตรียมน้ำย้อมวิธี zin lime vat โดยใช้ฝุ่นผงสังกะสี กับ น้ำปูนใส และเมทานอล อุ่นไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส แต่ย้อมหลายซ้ำฝ้ายจะผุขาด สําหรับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี ลาว และไทย ใช้วิธีเดียวกัน คือการหมัก indigo blue ในน้ำขี้เถ้า เมื่อเกิด indigo white แล้วจึงย้อมและรักษาสมดุลเคมี และชีวิตของจุลินทรีย์ในน้ำย้อมให้ได้
indigo white ย้อมติดเส้นใยฝ้ายได้ดี หากย้อมหลายซ้ำจะได้สีเข้มเกือบดํา แต่ย้อมไหมในน้ำย้อมเดียวกันจะได้สีเข้มที่สุดเพียงหนึ่งในสามของฝ้าย หากย้อมหลายซ้ำเส้นไหมจะยุ่ยและขาด ทั้งนี้เพราะไหมทนภาวะด่างในน้ำย้อมได้น้อยกว่าฝ้าย จากการพิจารณาโครงสร้างทางเคมีของ indigo white ในน้ำย้อม เซลลูโลสในใยฝ้ายและโปรตีนในเส้นไหม พบว่าเซลลูโลสมีตําแหน่งการสร้างพันธะไฮโตรเจนกับ indigo white มากกว่าโปรตีนในเส้นไหม ดังนั้นโดยธรรมชาติ ไหมจึงติดสีครามได้น้อยกว่าฝ้าย หากจะทําการปรับปรุงให้ติดสีได้มากขึ้น ต้องปรับสภาพน้ำย้อมให้เป็นด่างต่ำที่สุดที่จะรีดิวซ์ indigo blue ได้ และต้องหาสารอื่นที่เพิ่มตําแหน่งการสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่างเส้นไหมกับ indigo white

Article Details

How to Cite
สายทอง อ. . (2012). ไหมย้อมครามธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(2), 423–435. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253111
บท
บทความวิชาการ