เมล็ดเทียม: หลักการพื้นฐานและการประยุกต์ใช้

Main Article Content

ปิยะพร แสนสุข

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีการหุ้มเมล็ดเทียมเป็นงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่น่าสนใจและมีการศึกษาอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีการนําเมล็ดเทียมมาใช้ในการอนุรักษ์และการขนย้ายเนื้อเยื่อพืชที่มีความสําคัญเชิงพาณิชย์และมีความสําคัญทางเศรษฐกิจ การผลิตเมล็ดเทียมทําได้โดยการหุ้มโซมาติกเอ็มบริโอ (somatic embryo) ตายอด ตาข้าง โปรโตคอร์มหรือเนื้อเยื่อเจริญส่วนอื่นๆ ด้วยเอนโดสเปิร์มเทียมและเปลือกหุ้มเมล็ดเทียมเพื่อให้เกิดเป็นพืชต้นใหม่ทําให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตต้นพืชในเชิงการค้าหรือลดค่าขนส่ง ในปัจจุบันได้นําพืชลูกผสม (hybrid plant) พืชดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic plant) พืชใกล้สูญพันธุ์ พืชเศรษฐกิจ พืชหายาก ธัญพืช ไม้ผลและพืชสมุนไพรมาทําเมล็ดเทียม ดังนั้นในบทความนี้ได้เสนอหลักการพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้เมล็ดเทียมด้วย

Article Details

How to Cite
แสนสุข ป. . (2012). เมล็ดเทียม: หลักการพื้นฐานและการประยุกต์ใช้. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(2), 380–395. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253107
บท
บทความวิชาการ