ชีววิทยาของเมือกหอยทากและการใช้ประโยชน์

Main Article Content

บังอร กองอิ้ม

บทคัดย่อ

เมือกหอยทากถูกสร้างและขับออกมาจากเซลล์ในเนื้อเยื่อบุผิวบริเวณแผ่นเท้าและผิวลําตัว เพื่อประโยชน์ในการเคลื่อนที่ การผสมพันธุ์ การล่าเหยื่อ และการรักษาความชื้นในช่วงจําศีล โดยเมือกที่ขับออกมาจากแผ่นเท้าขณะคืบคลานเป็นเมือกบางไม่เข้มข้น ส่วนเมือกจากที่ขับออกมาจากผิวลําตัวเป็นเมือกหนาเข้มข้น ความเหนียวของเมือกขึ้นอยู่กับปริมาณอออนสองขั้วถ้ามีมากเมือกก็จะมีความเหนียวมาก ซึ่งไอออนสองขั้วมีปริมาณแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพทางสรีรวิทยาของหอยทาก ทั้งนี้อัตราการหลั่งเมือกจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนประสาท เมือกประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวและแกรนูล โดยจํานวนแกรนูลจะแปรผันตรงกับปริมาณและน้ำหนักของเมือก ส่วนองค์ประกอบหลักทางชีวเคมีในเมือกหอยทากเป็นพวกโมเลกุลไกลโคคอนจูเกต ซึ่งประกอบด้วย sulfate sugar หรือ carbohydrate chains, globular soluble proteins, uronic acid และ oligoelements ที่สําคัญเมือกของหอยทากมีเปปไทด์ เช่น มิวซิน ซึ่งมีฤทธิ์ทําลายเชื้อจุลินทรีย์ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ และมีคุณสมบัติกระตุ้นการทํางานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันช่วยลดการติดเชื้อและการอักเสบของผิวหนังของมนุษย์รวมถึง เสริมสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเมือกหอยทากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวหนัง และการผลิตโปรตีนยึดเกาะ

Article Details

How to Cite
กองอิ้ม บ. . (2012). ชีววิทยาของเมือกหอยทากและการใช้ประโยชน์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(2), 356–365. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253104
บท
บทความวิชาการ