ความหลากชนิด ปริมาณแพลงก์ตอนพืช และคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงปลาบึกด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน

Main Article Content

ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม
บัญญัติ มนเทียรอาสน์
จงกล พรมยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนพืช ตลอดจนคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงปลาบึกด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน จำนวน 3 บ่อ คือ บ่อที่ 1 ไม่มีการสร้างอาหารธรรมชาติ (บ่อควบคุม) บ่อที่ 2 มีการสร้างอาหารธรรมชาติโดยใส่ปุ๋ยมูลไก่แห้งในอัตรา 40 กก./ไร่/สัปดาห์ ตลอดการทดลองและบ่อที่ 3 มีการสร้างอาหารธรรมชาติโดยใส่ปุ๋ยมูลไก่แห้งในอัตรา 20 กก./ไร่/สัปดาห์ ภายหลังเลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 ดิวิชัน 43 ชนิด ได้แก่ ดิวิชัน Cyanophyta, Chlorophyta, Chrysophyta, Euglenophyta, Pyrrophyta และ Cryptophyta โดยองค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่อยู่ในดิวิชัน Chlorophyta และตลอดการศึกษาพบจำนวนชนิดและปริมาณเฉลี่ยของแพลงก์ตอนพืชมากที่สุดในบ่อที่ 2 ที่มีการสร้างอาหารธรรมชาติตลอดการทดลอง ทั้งนี้แพลงก์ตอนพืชที่เป็นชนิดเด่นในบ่อเลี้ยงปลาบึกทั้ง 3 บ่อ คือ Scenedesmus sp. และ Euglena sp. สำหรับคุณภาพน้ำพบว่าบ่อเลี้ยงปลาบึกแต่ละบ่อมีความต่างกันของคุณภาพนํ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P gif.latex?\leq 0.05) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการเลี้ยงปลาบึกให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
ศรีนวลสม ข. ., มนเทียรอาสน์ บ. ., & พรมยะ จ. . (2012). ความหลากชนิด ปริมาณแพลงก์ตอนพืช และคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงปลาบึกด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(1), 121–134. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253076
บท
บทความวิจัย