แบบจำลองเอมไพริคัลสำหรับคำนวณรังสีรวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือน จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

รุ่งรัตน์ วัดตาล
สมเจตน์ ภัทรพานิชชัย
ณรงค์ พูลแก้ว

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ทดสอบสมรรถนะของแบบจำลองเอมไพริคัลสำหรับคำนวณรังสีรวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือนจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ในการทดสอบแบบจำลองดังกล่าว ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลรังสีรวมรายวัน ข้อมูลอุณหภูมิอากาศ (รายวันสูงสุด รายวันต่ำสุด เฉลี่ยรายวัน) ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายวัน และเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้าเฉลี่ยรายวัน จากสถานีวัด 32 แห่งในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล 7 ปี (ค.ศ. 2009 - 2015) จากนั้นทำการคำนวณข้อมูลดังกล่าวให้อยู่ในรูปรายวันเฉลี่ยต่อเดือน พร้อมทั้งคำนวณค่ารังสีนอกบรรยากาศโลกรายวันเฉลี่ยต่อเดือน หลังจากนั้นทำการปรับปรุงสัมประสิทธิ์ของแบบจำลองจำนวน 10 แบบจำลองโดยใช้ข้อมูลจากสถานีวัด 32 แห่ง โดยแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนความเข้มรังสีรวมต่อความเข้มรังสีนอกบรรยากาศโลกรายวันเฉลี่ยต่อเดือนกับค่ารายวันเฉลี่ยต่อเดือนของอุณหภูมิอากาศรายวันต่ำสุด อุณหภูมิอากาศรายวันสูงสุด อุณหภูมิอากาศเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย และเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้าเฉลี่ย และความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิรายวันสูงสุดและต่ำสุด จากนั้นผู้วิจัยจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดในปี ค.ศ. 2016 - 2018 มาทำการทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองที่ปรับปรุงสัมประสิทธิ์แล้ว โดยนำแบบจำลองดังกล่าวมาคำนวณค่าความเข้มรังสีรวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือนแล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการวัด ผลที่ได้พบว่าค่าที่ได้จากการคำนวณจากแบบจำลองทั้ง 10 แบบจำลองที่ปรับปรุงสัมประสิทธิ์แล้ว ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับค่าที่ได้จากการวัด โดยมีความแตกต่างในรูปของรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง และความคลาดเคลื่อนเอนเอียงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.3 - 19.2% และ -6.3 - 7.0% ตามลำดับ และแบบจำลองที่ 5 ให้ผลที่ดีที่สุด

Article Details

How to Cite
วัดตาล ร., ภัทรพานิชชัย ส., & พูลแก้ว ณ. (2023). แบบจำลองเอมไพริคัลสำหรับคำนวณรังสีรวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือน จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาสำหรับประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 51(2), 142–154. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2023.13
บท
บทความวิจัย

References

Angstrom, A. (1924). Solar and terrestrial radiation. Quarterly Journal of the Royal Meteorological Society 50: 121 - 126.

Falayi, E.O., Adepitan, J.O. and Rabiu, A.B. (2008). Empirical models for the correlation of global solar radiation with meteorogloical data for Iseyin, Nigeria. The Pacific Journal of Science and Technology 9(2): 583 - 591.

Garba, M.B., Muhammad, A., Musa, M. and Mohammed, A.G. (2018). Assessing the performance of global solar radiation empirical equations in Sokoto, Nigeria using meteorological parameters. Nigerian Journal of Technology (NIJOTECH) 37(2): 358 - 364.

Hargreaves, G.H. and Samani, Z.A. (1982). Estimating potential evapo-transpiration. Journal of Irrigation and Drainage Engineering 108: 223 – 230.

Iqbal, M. (1983). An Introduction of Solar Radiation. New York: Academic Press.

Ituen, E.E., Esen, N.U., Nwokolo, S.C. and Udo, E.G. (2012). Prediction of global solar radiation using relative humidity, maximum temperature and sunshine hours in Uyo, in the Niger Delta Region, Nigeria. Advances in Applied Science Research 3 (4): 1923 - 1937.

Nage, G.D. (2018). Estimation of monthly average daily solar radiation from meteorological parameters: Sunshine hours and measured temperature in Tepi, Ethiopia. International Journal of Energy and Environmental Science 3: 19 - 26.

Okundamiya M. S., Emagbethre, J.O. and Ogujor, E.A. (2016). Evaluation of various global solar radiation models for Nigeria. International Journal of Green Energy 13(5): 505 - 512.

Prescott, J.A. (1940). Evaporation from a water surface in relation to solar radiation. Transactions of the Royal Society of South Australia 64: 114 - 118.

Zhang, J., Zhao, L., Deng, S., Xu, W. and Zhang, Y. (2017). A critical review of the models used to estimate solar radiation. Renewable and Sustainable Energy Reviews 70: 314 - 329.