ระบบขอคำปรึกษาด้วยเสียงในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน

Main Article Content

สันติ สถิตวรรธนะ
เกสรา เพชรกระจ่าง

บทคัดย่อ

การงานวิจัยฉบับนี้เป็นการแก้ปัญหาในช่วงสถานการณ์ covid19 ที่เกี่ยวข้องกับการบริการให้คำปรึกษาที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย เนื่องด้วยนักศึกษาไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัยจึงทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารโดยตรงกับเจ้าหน้าที่แต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องกับการบริการนักศึกษา เช่น กิจการนักศึกษา งานทะเบียน เป็นต้น ปกติช่องทางที่ใช้สำหรับการติดต่อได้แก่โทรศัพท์และช่องทางสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค ซึ่งทางโทรศัพท์ใช้ได้เฉพาะในช่วงเวลาราชการเท่านั้น ส่วนช่องทางสังคมออนไลน์เฟสบุ๊คก็พบว่าไม่เป็นระบบและไม่สามารถติดตามผลของการแก้ปัญหาของนักศึกษาได้ ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและพัฒนาระบบโดยเลือกรูปแบบในการให้บริการแบบเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับเทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูลใช้หลักการ REST ซึ่งทำให้การขยายและการรองรับผู้ใช้ได้จำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ ในการวิจัยได้ใช้กรณีศึกษาการให้คำปรึกษางานทะเบียน จากการวิเคราะห์ระบบพบว่าการตั้งคำถามควรแบ่งออกเป็นกลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจำกัดขอบเขตของปัญหา สำหรับงานทะเบียนได้วิเคราะห์กลุ่มคำถามได้ทั้งสิ้น 12 กลุ่ม ได้แก่ การขอเปิดรายวิชา, การลงทะเบียน, การถอนรายวิชา เป็นต้น ซึ่งหลักการทำงานของระบบจะให้ผู้ขอคำปรึกษาจะต้องทำการเข้าสู่ระบบโดยใช้บัญชีรายชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อการแยกแยะบุคคลจากนั้นจึงทำการบันทึกเสียงผ่านทางเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) จากนั้นทำการอัปโหลดไฟล์เสียงเข้าสู่ระบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฟังและทำการตอบ โดยการตอบของเจ้าหน้าที่สามารถทำได้ทั้งการตอบด้วยเสียงหรือข้อความ นักศึกษายังสามารถติดตามสถานะการให้คำปรึกษาผ่านทางระบบได้ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบได้ทำการประเมินแบ่งเป็น 7 ด้านระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ พบว่าผลจากการประเมินมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 ผลการสรุปการให้บริการระบบขอคำปรึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับดี

Article Details

How to Cite
สถิตวรรธนะ ส. ., & เพชรกระจ่าง เ. . (2022). ระบบขอคำปรึกษาด้วยเสียงในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 50(1), 35–45. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250296
บท
บทความวิจัย

References

บัญชา ปะสีละเตสัง. (2550). คู่มือการพัฒนาเว็บด้วย PHP 5 MySQL 5. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บัญชา ปะสีละเตสัง. (2562).สร้างเว็บไซต์แบบ Responsive ด้วย Bootstrap ร่วมกับ CSS และ JavaScript. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Anonymous. (2019). JSON. Accessed 19 February, แหล่งข้อมูล: https://www.json.org/. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

Auth0 Inc. Introduction to JSON Web Tokens. (2013). แหล่งข้อมูล: https://jwt.io/intro-duction. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

Lin, B., Chen, Y., Chen, X., and Yu, Y. (2012). Comparison between JSON and XML in Applications Based on AJAX. In: 2012 International Conference on Computer Science and Service System. 1174-1177.

Maddox, S. (2018). API types | ffeathers. แหล่งข้อมูล: https://ffeathers.wordpress.com/2014/02/16/api-types/. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

Oracle Corporation. (2019). MySQL :: MySQL 8.0 Reference Manual :: 1.3.1 What is MySQL?. แหล่งข้อมูล: https://dev.mysql.com/doc/refman/8.0/en/what-is-mysql.html. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

The jQuery Foundation. (2019). jQuery. Accessed 20 February. แหล่งข้อมูล: https://jquery.com/. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

The PHP Group. (2019). PHP: Hypertext Preprocessor. Accessed 20 February. แหล่งข้อมูล: http://php.net/. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.

RestApiTutorial team. (2013). REST API Tutorial Learn REST A RESTful Tutorial, แหล่งข้อมูล: https://www.restapitutorial.com/. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.