การศึกษาการคงอยู่ของสปอร์ Rhizopus oligosporus บนพื้นรองเท้าที่เดินบนพื้น และระยะทางที่แตกต่างกัน

Main Article Content

กนกวรรณ เนตรขันธ์
ธิติ มหาเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการตรวจหาการคงอยู่ของสปอร์ Rhizopus oligosporus ในดินที่ติดอยู่ที่พื้นรองเท้าที่เดินยํ่าไปบนพื้นที่มีลักษณะแตกต่างกันเป็นระยะทางที่แตกต่างกัน โดยผสมสปอร์ในดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย ให้สปอร์ยึดเกาะกับเม็ดดินซึ่งเป็นตัวแทนของดินในธรรมชาติ จากนั้นผู้ทดลองใช้รองเท้าเหยียบดินผสมสปอร์แล้วเดินไปบนพื้นดินลูกรัง พื้นหญ้าและพื้นคอนกรีตเป็นระยะทาง 500 และ 1,000 เมตร แล้วนําไปนับจํานวนสปอร์ที่เหลืออยู่ที่พื้นรองเท้า จากการทดลองพบว่าสปอร์มีการยึดเกาะกับดินเหนียวและดินร่วนดีกว่าดินทรายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 เมื่อเดินยํ่าไปบนพื้นที่แตกต่างกัน คือ พื้นดินลูกรังพื้นหญ้า และพื้นคอนกรีต ทั้งในดินเหนียวและดินร่วนพบว่าจํานวนสปอร์คงเหลือเฉลี่ยหลังเดินยํ่าไปบนพื้นดินลูกรังและพื้นคอนกรีตให้ผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ แต่การเดินยํ่าไปบนพื้นดินลูกรังและพื้นคอนกรีตมีจํานวนสปอร์คงเหลือมากกว่าการเดินยํ่าไปบนพื้นหญ้าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 และเมื่อเดินยํ่าไปเป็นระยะทางที่แตกต่างกันคือ 500 และ 1,000 เมตร พบว่าจํานวนสปอร์คงเหลือในดินเหนียวและดินร่วนหลังเดินยํ่าไปบนพื้นดินลูกรัง พื้นหญ้า และพื้นคอนกรีตให้ผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ

Article Details

How to Cite
เนตรขันธ์ ก. ., & มหาเจริญ ธ. . (2021). การศึกษาการคงอยู่ของสปอร์ Rhizopus oligosporus บนพื้นรองเท้าที่เดินบนพื้น และระยะทางที่แตกต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 49(3), 246–253. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250273
บท
บทความวิจัย

References

พืชเกษตร. (2559). หญ้านวลน้อย ประโยชน์ และการปลูกหญ้านวลน้อย. แหล่งข้อมูล : https://puechkaset.com/หญ้านวลน้อย. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.

อักษร ศรีเปล่ง. (2521). พฤกษศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สํานักสํารวจและวิจัยทรัพยากรดิน. (ม.ป.ป.). ความรู้เรื่องดินสําหรับเยาวชน. กรมพัฒนาที่ดิน, แหล่งข้อมูล : http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/pdf/D_easysoils_editvol2 . pdf. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.

Hawksworth, D. L., and Wiltshire, P. E. J. (2015). Forensic mycology: current perspectives. Research and Reports in Forensic Medical Science 5: 75-83.

Hawksworth, D. L., Wiltshire P. E. J., and Webb, J. A. (2016). Rarely reported fungal spores and structures: an overlooked source of probative trace evidence in criminal investigations. Forensic Science International (264): 41-46.

Jennessen, J., Schnurer, J., Olsson, J., Samson, R. A., and Dijksterhuis, J. (2008 ) . Morhological characteristicsof sporangiospores of the tempe fungus Rhizopusoligosporus differentiate it from other taxa of the R. microsporus group. Mycological research 112: 547-563.

Kalev, S. D., and Toor, G. S. (2018). The Compositionof Soils and Sedim ents. Green Chemistry An Inclusive Approach 339-357.

Margiotta, G., Bacaro, G., Carnevali, E., Severini, S., Bacci, M., and Gabbrielli, M. (2015). Forensicbotany as a useful tool in the crime scene: Report of a case. Journal of Forensic

and Legal Medicine (34): 24-28.

Wiltshire, P. E. J., Hawksworth, D. L., Webb, J. A., and Edwards, K. J. (2015). Two sources and two kinds of trace evidence: enhancing the links between clothing, footwear and crime scene. Forensic Science International (254): 231-242.