การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ในระดับตราสินค้าเครื่องสำอาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในยุคปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตจุดมุ่งหมายหลักในการใช้เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าส่วนใหญ่ใช้เพื่อการดูแลตนเองในเรื่องของความสวยงาม สุขภาพ และการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในระดับตราสินค้าเครื่องสำอาง วิธีดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 405 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีตัวแปรอิสระเป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางด้านราคา ปัจจัยทางด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย และปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนตัวแปรตามคือการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนสถิติอนุมาน ได้แก่ เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในระดับตราสินค้าเครื่องสำอางมีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด 2) ปัจจัยด้านตราสินค้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 3) ปัจจัยด้านความสะดวกในการเดินทางและการมีงานวิจัยที่น่า เชื่อถือรองรับ และ 4) ปัจจัยด้านราคาตามลำดับ :ซึ่งสามารถสร้างสมการตัวแบบถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression models) ได้ดังนี้ การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า = 1.658 + 0.241 ด้านส่งเสริมการตลาด - 0.159 ด้านราคา + 0.198 ด้านตราสินค้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ + 0.143 ด้านความสะดวกในการเดินทางและการมีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือรองรับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เกรียง กิจบํารุงรัตน์. (2562). หลักสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกรียง กิจบํารุงรัตน์. (2564). การทํานายปัจจัยของผู้บริโภคที่มีอิทธิผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 49(1): 72-84.
ณิชาภา บุญสังข์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้านีเวียวิซาจเอ็กซ์ตร้าไวท์ เดย์ ซีรั่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
มนสิกาญจน์ ศรีรัตนสมบูรณ์. (2555). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของสตรีวัยทองในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, คณะวิทยาศาสตร์เครื่องสําอาง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิลม์และไซเท็กซ์ จํากัด.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทําเงิน. https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2564). 10 อันดับธุรกิจเด่น 2564. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย https://cebf.utcc.ac.th/news
อัญชุลี สิวินทา. (2550). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าประเภทต่อต้านและลดเรือนริ้วรอยก่อนวัยของสตรีวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการตลาด.
อัคพร อ่วมสวัสดิ์และคณะ. (2556). รู้ทัน ผลิตภัณฑ์สุขภาพกับเภสัชกร. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Armstrong, G. and Kotler, P. (2003). Marketing and introduction (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Biedenbach, G. and Marell, A. (2010). The impact of customer experience on brand equity in a business-to-business services setting. Journal of Brand Management 17(2010): 446-458.
Fetscherin, M. and Usunier, J. C. (2012). Corporate branding: an interdisciplinary literature review. European Journal of Marketing 46(2012): 733-753.
Schmitt, B. (2009), The concept of brand experience. Journal of Brand Management 16(2009): 417-419.